Page 146 - 001
P. 146

135


                                                                                       ื่
                   (Sātgharā) ซึ่งเป็นถ้ำที่อยู่ในกลุ่มถ้ำขันทคีรี (Khandagiri) ที่สร้างขึ้นมาเพอประดิษฐานรูป
                   เคารพในศาสนาเชน ได้ปรากฏประติมากรรมรูปตีรถังกร (Tirthankaras) ทั้งเจ็ด และ
                   ประติมากรรมรูปสตรีอีก 7 รูป ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสัปตมาตฤกา  (Saptamātṛka) ในแบบ
                                                                              29
                   ของศาสนาเชน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิศักติของศาสนาฮินดู ในขณะที่ในศาสนาพุทธ นิกาย

                   มหายานมีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้คนให้ความสำคัญกับพระโพธิสัตว์ทั้งเพศชายและเพศ
                                                              ี
                   หญิง รวมไปถึงเทพต่างๆ โดยบางครั้งพบว่าเทพต่างๆเหล่านั้น เป็นเทพของศาสนาฮินดู เช่น
                                    ี
                                                                                   ี
                                                                                                    30
                   พระสุรัสวดี ได้ถูกจัดให้กลายเป็นศักติของพระโพธิสัตว์มัญชูศรีผู้เป็นเทพแห่งวิชาการ เป็นต้น

                         5.  การศึกษา ความรุ่งเรืองของยุคคุปตะ สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนผ่านงานทาง

                   ด้านการศึกษา กาลิทาสได้อ้างถึงวิทยา (Vidhayah) หรือความรู้ 4 ประเภท ได้แก่ 1) อันวิกษิกิ
                   (Anviksiki) การศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาสางขยะ (Logic) โยคะ (Yoga) และอเทวนิยม (Atheism)
                          ̣
                   2) วรรตะ (Varta) การศึกษาทางด้านเกษตรกรรม การค้า การพาณิชย์ ฯลฯ 3) ทันทะนิติ
                   (Dandaniti) การศึกษาเกี่ยวกับด้านการทูต ซึ่งเป็นศิลปะการบริหารจัดการรัฐอย่างหนึ่ง และ
                   4) ตรายิ (Trayi) การศึกษาเกี่ยวกับพระเวท ได้แก่ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และภาคผนวก

                   ต่างๆ วิทยาด้านนี้เกี่ยวพันกับลำดับชีวิตในแต่ละห้วงเวลา
                          ผู้เรียนจะเริ่มต้นการศึกษาเมื่อสามารถนับเลขและเขียนหนังสือได้ ซึ่งจะมีอายุราว 6

                   ขวบโดยประมาณ และผู้เรียนจะต้องไปอาศัยอยู่ในบ้านของครู อาศรม หรือวิหารวัด ในลักษณะ
                   ของโรงเรียนประจำ การเรียนจะเริ่มฝึกอ่านและเขียน แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาสันสกฤต ไวยากรณ์
                   และการแต่งประโยค จนเมื่อเข้าสู่ระดับมัธยมคือราวอายุ 11-15 ปี จึงเริ่มเรียนศาสตร์ต่างๆ

                   ตามที่ตนต้องการ ทั้งนี้ ตามบันทึกของฟาเหียน ภาษาชั้นสูงที่ใช้กันในราชสำนัก คือ ภาษา
                                                       ู
                   สันสกฤต (Sanskrit) ในขณะที่ภาษาพดโดยทั่วไปจะใช้ภาษาปรากฤต (Prakrit) ซึ่งเป็น
                   ภาษาระดับรองลงมา
                          ในส่วนของสาขาวิชานั้น มีมากมายหลายสาขาตามแต่ความต้องการและรสนิยมของ
                   ผู้เรียน นักศึกษาสามารถเลือกวิชาเรียนตามที่ตนถนัดไม่ว่าจะเป็นพระเวท ศิลปศาสตร์ แพทย์

                   ศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ โดยในยุคนี้ โลหะวิทยา ดาราศาสตร์ และเรขาคณิตมี
                   ความเจริญมาก หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญในเรื่องโลหกรรมของช่าง

                   ในยุคนี้ได้แก่ เสาเหล็กที่ตั้งอยู่บริเวณชานเมืองของกรุงเดลฮีในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยคุปตะ
                   ปรากฏการเป็นสนิมน้อยมากแม้จะตั้งตระหง่านมาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปีแล้วก็ตาม ในขณะ
                   ที่วิชาดาราศาสตร์มีนักปราชญ์ที่มีความโดดเด่น เช่น อารยภัฏ (Aryabhata) เขาเป็นชาวอินเดีย

                   คนแรกที่ค้นพบว่าโลกกลมและหมุนรอบตัวเอง ในขณะเดียวกันโลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์
                   อารยภฏยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพีชคณิตและเลขคณิต ซึ่งแม้จะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาเป็น
                         ั
                   คนแรกที่คิดเรื่องระบบทศนิยมขึ้นมาหรือไม่ แต่เรื่องดังกล่าวก็ปรากฏขึ้นในงานเขียนของเขา
                       31
                   แล้ว นักปราชญ์อีกผู้หนึ่งที่มีชื่อด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ในยุคนี้ คือ นาคารชุนะ

                          29  เทพีพระแม่ 7 พระองค ถือเป็นศักติของเทพเจ้าในศาสนาฮินด  ู
                                          ์
                          30  ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน, หน้า 81.
                          31  L.P. Sharma. Ancient History of India (Pre-historic Age to 1200 A.D.), 216.
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151