Page 152 - 001
P. 152
141
หรรษะยังดำเนินการผูกสัมพันธ์กับแคว้นเพื่อนบ้าน เพื่อรักษาอำนาจและอาณาเขตของ
พระองค์ เห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อพระองค์ให้พระธิดาสมรสกับพระเจ้าธรุวะเสนะที่ 2
(Dhruvasena II) กษัตริย์แห่งคุชราต นอกจากนี้พระองค์ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนด้วยการส่ง
คณะทูตไปยังจีนในปี พ.ศ. 1184 (ค.ศ. 641) รวมไปถึงการต้อนรับคณะทูตที่มาจากจีนในปี
พ.ศ. 1186 (ค.ศ. 643) และพ.ศ. 1189 (ค.ศ. 646) อีกด้วย
• สังคมและวัฒนธรรม แม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง แต่ลักษณะสังคม
ประเพณี วัฒนธรรม รวมไปถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของประชาชนไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเท่าใดนัก
ยังคงสืบเนื่องต่อมาจากสมัยคุปตะ เห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับวรรณะที่ยังมีความเข้มข้น
ในสังคมชาวฮินดู แต่ก็ยังคงมีการแต่งงานข้ามวรรณะเกิดขึ้น ในขณะที่พธีสตีถูกจำกัดอยู่ที่กลุ่ม
ิ
วรรณะสูงเท่านั้น
ุ
ส่วนทางด้านศาสนา ฮินดู เชน และพทธ ยังคงเป็นศาสนาที่ประชาชนให้ความนิยม
อย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวัดเพอถวายเทพ และเทพในศาสนาฮินดูเป็นจำนวนมาก ศูนย์กลาง
ื่
ี
ของศาสนาฮินดูอยู่ที่เมืองประยัค (Prayag) และพาราณสี (Banaras) ส่วนศาสนาพทธ นิกาย
ุ
มหายานเป็นที่นิยมมากที่สุด โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กัษมีระ (Kashmir) ชลันธร (Jallundhar)
คยา (Gaya) และสเวตปุระ (Swetpur) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยนาลันทายังคงเป็นศูนย์กลาง
การศึกษาที่มีชื่อเสียงทั้งในและนอกประเทศ ศาสนาเชนก็ได้รับการนับถือจากผู้คนทั่วภูมิภาค
อินเดีย
ทางด้านหรรษะนั้น พนาภัตตะอ้างว่าพระองค์นับถือไศวนิกาย แต่เหี้ยนซังกลับกล่าวว่า
ุ
พระองค์เป็นพทธมามกะ ทั้งนี้ ในช่วงต้นรัชกาล พระองค์นับถือพระศิวะและบูชาพระอาทิตย์
ุ
แต่ในปลายรัชสมัย พระองค์ให้ความสนใจในศาสนาพทธ และแม้พระองค์จะสร้างวัดและสถูป
ในศาสนาพทธเป็นจำนวนมาก แต่พระองค์ก็ไม่เคยเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพทธ หรรษะยังคง
ุ
ุ
ความเชื่อเดิมตลอดพระชนม์ชีพ การที่พระองค์ทำทานและการกุศลในศาสนาอื่น เนื่องจาก
พระองค์มีพระทัยกว้างในศรัทธาที่แตกต่างออกไปจากตน
• การศึกษาและวรรณกรรม หรรษะเป็นผู้สนับสนุนงานทางด้านการศึกษา และตัว
พระองค์เองก็เป็นศิลปินด้วยเช่นเดียวกัน เห็นได้จากงานเขียนบทละครภาษาสันสกฤต 3 เรื่อง
และงานเขียนด้านไวยากรณ์ พระองค์ยังเป็นองค์อุปถัมถ์นักวิชาการและมหาวิทยาลัยที่อยู่ใน
ดินแดนของพระองค์ คือ มหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งในสมัยนี้มีผู้เข้ามาศึกษาราว 5,000 คน อาจ
กล่าวได้ว่าพระเจ้าหรรษะเป็นผู้ที่ช่วยให้งานทางด้านการศึกษาเติบโตขึ้น ดินแดนของพระองค์
3
ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่โดดเด่นทางด้านการศึกษาที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว
• เศรษฐกิจและการค้า โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจในช่วงสมัยนี้ยังคงจัดอยู่ในสภาพที่ดี
การค้า การเกษตร และการอุตสาหกรรมทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความเจริญรุ่งเรือง
ถึงแม้ว่า เมืองบางเมืองเป็นต้นว่า เปษวาร์ (Peshawar) และตักษิลาทางภาคตะวันตกเฉียง
เหนือจะถูกทำลายลงจากการรุกรานของพวกหูณะ อีกทั้งเมืองมถุราและปาฏลีบุตรจะหมด
ความสำคัญลงแต่ประยัค พาราณสี และกาโนช ก็ได้ขึ้นมาแทนที่ภายในอาณาจักรได้
3 L.P. Sharma. Ancient History of India, p. 232.