Page 147 - 001
P. 147

136


                   (Nagarjuna) ซึ่งเป็นนักบวชในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ท่านผู้นี้ไม่ได้เป็นเพียงนักปราชญ์ทาง

                   ศาสนาเท่านั้น แต่ยังเชี่ยวชาญทางด้านยารักษาโรค เคมี และโลหวิทยาอีกด้วย
                          ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า เมื่อผู้เรียนยังเป็นเด็ก จะเริ่มการศึกษาที่บ้านหรืออาศรมของผู้เป็น
                                                                                       ุ
                                                                                               ุ
                   ครู เมื่อโตขึ้นสถานที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัยมักเป็นอารามในศาสนาพทธ ทั้งพทธฝ่าย
                   มหายานและเถรวาท อย่างไรก็ดี แม้ตักษิลา (Taxila) จะเคยเป็นศูนย์กลางของศิลปวิทยาการ
                                           32
                   มาตั้งแต่สมัยก่อนพทธกาล  แต่เมื่อล่วงเข้ามาสู่ยุคคุปตะ ตักษิลาได้ล่มสลายลงไปแล้ว เห็นได้
                                    ุ
                   จากบันทึกของหลวงจีนฟาเหียนที่ได้ไปเยือนตักษิลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 (คริสต์ศตวรรษที่
                   4) ท่านไม่ได้กล่าวถึงสถานที่แห่งนี้ว่ามีความสำคัญด้านการศึกษาใดๆเลย  ในขณะที่บันทึกของ
                                                                                  33
                   พระถังซำจั๋ง ภิกษุจีนอีกรูปหนึ่งที่เดินทางเข้ามาในจีนเมื่อราวพทธศตวรรษที่ 12 ได้กล่าวถึง
                                                                            ุ
                   เมืองตักษิลาไว้ว่า “...แม้จะมีอารามมากมายแต่บัดนี้รกร้างว่างเปล่า พระภิกษุมีจำนวนเล็กน้อย
                                                34
                                                                     ุ
                   ล้วนศึกษาฝ่ายมหายานทั้งสิ้น”  แสดงให้เห็นว่า ในพทธศตวรรษที่ 12 เมืองตักษิลาหมด
                   ความสำคัญด้านการศึกษาไปแล้วอย่างสมบูรณ์
                          ถึงแม้กระนั้น ตักษิลาก็ไม่ได้เป็นสถานศึกษาเพียงแห่งเดียวในอินเดีย ในช่วงประมาณ
                   พทธศตวรรษที่ 11 มหาวิทยาลัยนาลันทา (Nalanda) และมหาวิทยาลัยวัลลภี (Vallabhi) ได้
                    ุ
                   กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยนาลันทาถือเป็นมหาวิทยาลัย
                   นานาชาติ เนื่องจากมีนักศึกษาจากจีน ญี่ปุ่น ทิเบต เกาหลี มองโกเลีย เดินทางเข้ามาศึกษายัง

                   สถาบันแห่งนี้เป็นจำนวนมาก นอกจากวิชาทางศาสนาและปรัชญาทั้งของศาสนาพทธและ
                                                                                               ุ
                   ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแล้ว ยังมีการสอนวิชาทางโลกและวิชาที่จำเป็นแก่การทำมาหาเลี้ยงชีพ
                   ตัวอย่างเช่น ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ตลอดจนมีแผนกเลี้ยงวัวรีด

                   นมด้วย ส่วนการประชุมโต้วาทีและอภิปรายกันในปัญหาวิชาความรู้ต่างๆ ถือเป็นกิจกรรมอย่าง
                                                       35
                   หนึ่งในชีวิตของนักศึกษาในสถาบันแห่งนี้

                       6. วรรณกรรม ถือเป็นหนึ่งในบรรดาหลักฐานที่แสดงความสมบูรณ์แบบของสมัยคุปตะ
                   งานเขียนที่ปรากฏออกมาได้แสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ของนักเขียนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

                   นักเขียนบทละคร คีตกวี นักประวัติศาสตร์ นักไวยากรณ์ นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ กวีที่
                   มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุคนี้คือ กาลิทาส (Kalidasah)  เขาเป็นหนึ่งในกวีนวรัตน์ (Nav Rata) ใน

                   ราชสำนักที่พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ทรงอุปถัมภ์อยู่ กาลิทาสได้รับการยกย่องว่าเป็นเอกทาง
                   วรรณคดีและการแต่งบทละครในวรรณกรรมภาษาสันสกฤต กวีนิพนธ์และบทละครที่มีชื่อเสียง
                   ได้แก่ ศกุนตลา (Sakuntla) รฆุวงศ์ (Rakhuvamsa) กุมาร สัมภาวะ (Kumar Sambhava)

                   และเมฆทูต (Meghadutta)


                          32  A.S. Altekar. (1944). Education in Ancient India. Beneres : Jnanmandal Press, p. 104.
                          33  ดูเพิ่มเติม James Legge, trans., A Record of Buddhistic Kingdoms Being an Account by the Chinese
                   Monk Fa-Hien of his Travels in India and Ceylon (A.D. 399-414) in Search of the Buddhist Books of Discipline, p.
                   32.
                          34  ชิว ซูหลุน, ผู้แปล. (2547). ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการณ์เดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง. กรุงเทพฯ:
                   สำนักพิมพ์มติชน, หน้า 131.
                          35  ยวาหระลาล เนห์รู, กรุณา กุศลาสัย (แปล). (2515). พบถิ่นอินเดีย. กรุงเทพฯ: กมลากร, หน้า 788.
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152