Page 148 - 001
P. 148

137


                                                                           ื้
                          นอกจากนี้ ยังมีงานเขียนประเภทนิทาน และนิทานพนบ้าน ซึ่งวรรณกรรมประเภท
                   นิทานที่มีชื่อเสียงคือ ปัญจตันตระ ประพนธ์โดยพราหมณ์วิษณุศรมัน มีเนื้อหาสรรเสริญวีรบุรุษ
                                                       ั
                   แทรกคติสอนใจ สอนศีลธรรมและเชิดชูคนทำคุณงามความดี ปัญจตันตระมีหลักคำสอนสำคัญ
                                  36
                   5 ประการ ได้แก่  1) การยุยุงให้มิตรแตกแยก 2) วิธีการผูกมิตร 3) สงครามและสันติภาพ 4)
                   การสูญเสียสิ่งที่ได้มา 5) สิ่งเลวร้ายที่เกิดจากการกระทำที่ไม่รอบคอบ ทั้งนี้ ปัญจตันตระมี
                   อิทธิพลต่อวรรณกรรมประเภทนิทานในอินเดียและนานาชาติในเวลาต่อมา ถือกันว่าเป็นต้น

                   กำเนิดของนิทานอาหรับราตรี นิทานกริมม์ และอื่นๆอีกมากมาย
                          ในขณะที่วรรณกรรมเนื่องในศาสนาที่โดดเด่นในสมัยนี้คือ คัมภีร์ปุราณะในศาสนา
                   พราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีการเขียนขึ้นใหม่หลายตอน รวมไปถึงมหากาพย์มหาภารตะฉบับที่รู้จักกัน

                   ในปัจจุบัน ได้ถูกต่อเติมขึ้นในสมัยนี้ด้วยเช่นกัน ส่วนวรรณกรรมในศาสนาพุทธที่สำคัญที่ปรากฏ
                   ขึ้นในช่วงเวลานี้ได้แก่ ทีปวงศ์ (Dipavamṣa) และมหาวงศ์ (Mahāvamsa) ซึ่งเป็นพงศาวดาร

                                                               ุ
                   ลังกา นอกจากนี้ พระเถระที่มีชื่อเสียงคือ พระพทธโฆษะ (Buddhaghoṣa) ได้แต่งคัมภีร์ชื่อ
                   วิสุทธิมรรค (Visuddimagga) เพื่อเป็นการอธิบายถึง ศีล (Sila) สมาธิ (Samadhi) และปรัชญา
                   (Prajna) คัมภีร์นี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับพทธโฆษะเถระเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถอธิบาย
                                                       ุ
                   แก่นธรรมในพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด และส่งอิทธิพลให้แก่งานเขียนอรรถกถาในสมัยต่อมาด้วย
















































                          36  ดนัย ไชยโยธา. ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, หน้า 360.
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153