Page 144 - 001
P. 144

133




                                           ุ
                              4.2 ศาสนาพทธ แม้ศาสนาฮินดูจะเป็นที่นิยมมากที่สุดในอินเดียในยุคนี้
                   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบเบงกอล พิหาร และอุตตระประเทศ แต่ศาสนาพุทธก็ยังเป็นที่นิยมใน
                                                                              ุ
                   ส่วนต่างๆของอินเดียอีกมาก โดยทั่วไปมักวิเคราะห์กันว่า ศาสนาพทธเริ่มล่มสลายลงในยุคคุป
                                    ื้
                   ตะ เนื่องจากการฟนฟศาสนาฮินดูขึ้นมาใหม่ และสามารถดึงผู้คนกลับเข้าไปได้ อย่างไรก็ตาม
                                       ู
                   หากพิจารณาให้ถ่องแท้จะเห็นว่ายุคนี้เป็นยุคที่รุ่งโรจน์อีกยุคหนึ่งของศาสนาพุทธเลยทีเดียว
                          หลักฐานความรุ่งเรืองของศาสนาพทธแสดงให้เห็นในหลายแง่มุม ยกตัวอย่างเช่น
                                                           ุ
                   คณาจารย์คนสำคัญเป็นต้นว่า อสังคะ (Asanga) วสุพนธุ (Vasubandhu) กุมารชีวะ
                                                                         ั
                                                                   ั
                   (Kumarjiva) และทิคนาคะ (Dignaga) ล้วนได้ประพนธ์วรรณกรรมทางศาสนาที่เป็นภาษา
                   สันสกฤตที่ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ นอกจากนี้ ศิลปกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นที่ถ้ำอชันตา
                   (Ajanta) ถ้ำแอลโลรา (Ellora) รวมไปถึงสถาปัตยกรรมประเภทสถูป วิหาร และประติมากรรม

                   เนื่องในศาสนาพุทธที่ยังหลงเหลือตกทอดลงมาให้เห็นในปัจจุบัน ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่
                                                             ื่
                   แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธในยุคคุปตะมีความเฟองฟูและเป็นที่นิยมไม่แพ้ศาสนาฮินดู ดังนั้นจึง
                   สามารถสร้างงานศิลปกรรมที่มีความงามที่สุดยุคหนึ่งของอินเดียได้

                                                                                                   ื้
                          ทั้งนี้ จากบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน นิกายหินยานยังคงได้รับความนิยมอยู่ในพนที่
                   กัษมีระ คันธาระ และอัฟกานิสถานในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 10 อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา

                   นิกายมหายานก็เข้ามาแทนที่ในพื้นที่ดังกล่าว ในสมัยนี้ศาสนาพุทธยังคงเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง
                   ในเมืองมถุรา สาญจี นาลันทา วัลลภี และอานธระประเทศ โดยมีนิกายหินยานสรวาสติวาท
                   ได้รับการนับถือมากที่สุด

                          และแม้ว่ากษัตริย์ในราชวงศ์คุปตะจะนับถือศาสนาฮินดูเป็นศาสนาหลัก แต่จาก
                   หลักฐานประเภทจารึกและบันทึกการเดินทางของนักเดินทางที่เข้ามาในอินเดียในยุคนั้นได้

                   พิสูจน์ให้เห็นว่าศาสนาพุทธไม่ได้ถูกกดขี่ และได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ด้วยเช่นเดียวกัน เช่น
                   ในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2  ทรงบริจาคเงินเป็นจำนวน 25 ดินาร่าทองคำให้แก่ชุมชนที่ดูแล
                   วิหารแห่งสาญจีอยู่ เป็นต้น วัดในศาสนาพุทธจึงมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการศึกษาและในด้าน

                   เศรษฐกิจ โดยมีมหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา เป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง
                   ของพุทธศาสนา โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยนาลันทามีนักศึกษาเป็นจำนวนหลายพันคน จากการ

                   ขุดค้นทางโบราณคดีที่มหาวิทยาลัยนาลันทาพบว่า เป็นสถานการศึกษาขนาดใหญ่ มีอาคาร
                   เรียนและห้องโถงสำหรับจัดประชุม ปาฐกถาหรือการบรรยายถึง 8 ห้อง และยังมีห้องเรียน
                   ขนาดเล็กอีก 300 ห้อง มีหอพกสำหรับพระภิกษุและนักศึกษา พระภิกษุดังกล่าวมีมาจากทั่ว
                                              ั
                                                              24
                   ประเทศอินเดียและจากประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย


                              4.3 ศาสนาเชน ตั้งแต่ในราวพทธศตวรรษที่ 3 มาแล้วที่ศาสนาเชนได้เริ่มฝังราก
                                                          ุ
                   ลึกลงตามภูมิภาคต่างๆของอินเดีย เริ่มจากที่มคธ และค่อยๆแพร่ขยายไปช้าๆ จนไปถึงแคว้น






                          24  เฉลิม พงศ์อาจารย์และคณะ. ประวัติศาสตร์อินเดีย, หน้า 58.
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149