Page 142 - 001
P. 142
131
สำหรับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยที่ราชวงศ์คุปตะรุ่งเรืองนั้น เป็น
ั
ช่วงเวลาที่มีการรวมตัวของผู้คนในชาติพนธุ์ต่างๆ เข้าสู่การเป็นสังคมเมืองเรียบร้อยแล้ว บาง
ั
ชุมชนมีพฒนาการความเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยก่อนราชวงศ์คุปตะจะเจริญขึ้นด้วย โดยใน
ประเทศพม่าเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวปยู (Pyu) ตั้งรัฐศรีเกษตรบริเวณตอนกลางของประเทศ
พม่า บริเวณตอนกลางของประเทศไทยเป็นที่ตั้งของรัฐทวารวดี ในขณะที่บริเวณชายฝั่งอินโดจีน
ู
เป็นของพวกฟนัน (Funan) และหลินยี่ (Linyi) ส่วนบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยประกอบไป
ด้วยอาณาจักรต่างๆ ตามชื่อที่ปรากฏเรียกในเอกสารจีน เช่น เตียนซุน จิ่วจื้อ กฏาหะ และผัน
ผัน เป็นต้น อาณาจักรเหล่านี้มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการขยายตัวของอาณาจักรศรีวิชัยในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ดี หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางการค้าในสมัยนี้ มักเป็น
โบราณวัตถุที่สื่อถึงความสัมพันธ์ทางการค้าในทางอ้อม เป็นต้นว่า ภาชนะดินเผาที่แสดงรูปแบบ
การได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เช่น หม้อน้ำมีพวย (spouted pot) ภาชนะดินเผาที่ตกแต่งด้วย
เทคนิคการตกแต่งด้วยลายประทับ (stamped technique) ซึ่งมักเป็นลายดอกไม้หรือ
สัญลักษณ์ที่เป็นมงคลต่างๆของอินเดีย เหรียญกษาปณ์ที่มีจารึกและไม่มีจารึก (แต่มีสัญลักษณ์
มงคลของอินเดียปรากฏอยู่) และตราประทับที่ทำจากหิน แก้ว ดินเผา โลหะ ซึ่งส่วนใหญ่มัก
จารึกด้วยรูปอักษรปัลลวะ โบราณวัตถุเหล่านี้พบกระจายตัวอยู่ตามเมืองท่าและชุมชนโบราณใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น
ั
สมัยราชวงศ์คุปตะอาจไม่ใช่ยุคสมัยแรกที่มีการติดต่อสัมพนธ์กันกับเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ แต่สมัยคุปตะเป็นสมัยที่ส่งต่อความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อย่างชัดเจนที่สุด เห็นได้จากโบราณวัตถุเนื่องในศาสนา ภาษา ตัวอักษร และคติความเชื่อ โดย
เฉพาะงานศิลปกรรมที่สะท้อนให้เห็นอิทธิพลสกุลช่างงานศิลปะในสมัยคุปตะได้เป็นอย่างดี
4. ศาสนา สมัยคุปตะเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของ
ศาสนา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ เป็นการฟื้นฟูและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสังคมตามยุคสมัย
ให้มากขึ้น ผนวกกับลักษณะสังคมที่มีเสรีภาพทางศาสนา ทำให้ผู้คนไม่ได้ยึดติดในการที่จะต้อง
นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งไปตลอดชีวิต แต่ละศาสนาจึงต้องสร้างความสนใจทั้งในเรื่องปรัชญา
คำสอนและพิธีกรรมเพื่อดึงดูดผู้คนให้มาสนใจนับถือ ดังจะกล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป
4.1 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดในเรื่องของการ
ฟื้นฟูและจัดระเบียบคำสอนใหม่ มีการปรับปรุงคำสอนให้สอดคล้องกับหลักศีลธรรมและเหตุผล
มากขึ้น นอกจากนี้ การซึมซับอิทธิพลจากต่างชาติไม่ว่าจะเป็นกรีก หรือ ศกะก็ช่วยทำให้ศาสนา
ฮินดูในยุคนี้มีความน่าดึงดูดสำหรับกลุ่มคนที่ค้นหาความหมายของการดำรงชีวิต ตัวอย่างของ
ู
ื่
ความพยายามฟนฟศาสนาอย่างหนึ่งคือ การเขียนบทความเพอเชิดชูศาสนา ดังเช่น สังการะ
ื้
ื่
(Sankara) ผู้ที่เป็นนักปรัชญา (Philosopher) และปัญญาชนในยุคนั้นได้เขียนบทความเพอ
ส่งเสริมคัมภีร์ต่างๆในศาสนาฮินดู ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์พระเวท อุปนิษัทหรือภควัทคีตา สังการะ
เชิดชูความดีงามของศาสนาฮินดูให้เด่นชัด เน้นการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากกว่าการทำ