Page 141 - 001
P. 141
130
ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ การที่กษัตริย์พระราชทานที่ดินให้แก่องค์กรหรือกลุ่ม
คนเหล่านี้ก่อให้เกิดการสั่งสมอำนาจขึ้นในผู้ที่เป็นเจ้าที่ดิน โดยกษัตริย์ไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยว
ใดๆได้ นอกจากการเก็บภาษี เจ้าที่ดินจึงสามารถแสวงหาอำนาจในที่ดินของตนและค่อยๆเพิ่ม
อำนาจมากขึ้นในที่สุด
ุ
ลักษณะเศรษฐกิจที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ วัดในพระพทธศาสนากลับมีบทบาททาง
่
เศรษฐกิจ กล่าวคือ มีการทำการค้าแข่งขันกับสมาคมพอค้า ลักษณะเช่นนี้เป็นผลสืบเนื่องมา
ตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา กษัตริย์และพวกเศรษฐีได้บริจาคทรัพย์สินเงินทองและที่ดินให้แก่
วัด ยิ่งนานวันเข้าวัดก็กลายเป็นสถาบันที่มีทรัพย์สินมั่งคั่ง วัดมีที่ดินให้คนเช่าทำกิน บางวัด
ปฏิบัติตนเป็นนายธนาคารให้คนกู้เงิน ด้วยเหตุนี้วัดในพระพุทธศาสนาจึงเป็นแหล่งเป้าหมายให้
20
ชนต่างชาติเข้ามาปล้นสะดมอยู่เสมอ
ื่
ู
ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอาณาจักรคุปตะไม่เพยงสร้างความเฟองฟและสร้าง
ี
มาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีต่อประชาชนในยุคนี้เท่านั้น แต่ยังเผื่อแผ่ความรุ่งโรจน์ไปสู่บ้านเมือง
อื่นๆที่อินเดียทำการค้าด้วย ไม่ว่าจะเป็นชวา พม่า จีน กัมพูชา และพื้นที่บริเวณภาคใต้และภาค
กลางของประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นมี ทวารวดีเป็นศูนย์กลางที่สำคัญ ความสัมพันธ์ทางการค้า
ได้นำพาวัตถุและวัฒนธรรมด้านต่างๆไปสู่ภายนอกดังที่ได้ปรากฏหลักฐานให้เห็นอย่างมากมาย
ในปัจจุบันนี้
• ความสัมพันธ์ทางการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมื่อเข้าสู่สมัยคุปตะ ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยิ่งกระชับ
แน่นมากยิ่งขึ้น อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียได้ฝังรากลงสู่ดินแดนต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อย่างมั่นคงแล้ว การค้าระหว่างกันก็ไม่เคยขาดสายลง ทั้งนี้ จากวรรณกรรมในศาสนาพุทธและ
ศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏขึ้นในสมัยนี้ ยังคงอ้างอิงถึงการเดินทางเพอแสวงหาโภคทรัพย์จาก
ื่
ดินแดนสุวรรณภูมิอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นว่า ทิวยาวทาน (Divyāvadāna) ได้เล่าเรื่องนักเดินทาง
ชื่อสุปรียาที่เดินทางไปยังดินแดนที่ดินเป็นสีทอง หรือปรมัตถทีปนี (The Paramattha-Dīpanī)
กล่าวถึงการติดต่อค้าขายระหว่างอินเดียและสุวรรณภูมิ โดยระบุว่าเมืองปาฏลีบุตรและเมืองสา
วัตถีในลุ่มแม่น้ำคงคาเป็นศูนย์กลางและตลาดการค้าสำคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-11
นอกจากนี้ จากบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน ทำให้เราทราบว่าเมืองท่าตามรลิปติ
(Tamarlipti) เป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยนี้ และเป็นเมืองท่าที่หลวงจีนฟาเหียนขึ้นเรือ
กลับไปประเทศจีน โดยใช้เวลากว่าสามเดือนจึงถึงเกาะชวา เรือดังกล่าวเป็นของพอค้าที่เดิน
21
่
ทางเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อเขียนดังกล่าวนี้ เป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึง
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยคุปตะ
20 ดนัย ไชยโยธา. ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, หน้า 341.
21 James Legge, trans. (1886). A Record of Buddhistic Kingdoms Being an Account by the Chinese Monk
Fa-Hien of his Travels in India and Ceylon (A.D. 399-414) in Search of the Buddhist Books of Discipline. London:
Oxford University Press, p. 100