Page 137 - 001
P. 137
126
ของป่าล่าสัตว์ ล่วงถึงยุคทองแดง การขุดค้นที่เมืองโมเหนโจดาโรและฮารัปปาแสดงหลักฐานที่
บ่งชี้ว่ามนุษย์ในสมัยนั้นรู้จักการทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ประเภท ควาย แพะ และแกะแล้ว
ซึ่งพวกเขาสามารถนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์เช่น เนื้อและนมมาทำเป็นอาหาร เมื่อเข้าสู่ยุคพระ
เวท ในคัมภีร์ฤคเวทได้อ้างถึงการนำน้ำผึ้งและนมมาประกอบอาหาร และกล่าวถึงเครื่องดื่ม
10
ประเภทโสมะและสุรา โดยโสมะจะเป็นเครื่องดื่มที่ใช้ในงานพิธีกรรมทางศาสนา แต่สุราจะดื่ม
11
กันโดยทั่วไป ล่วงเข้าสู่ยุคพทธกาลจนถึงสมัยก่อนราชวงศ์คุปตะ ข้าวและข้าวบาร์เลย์ยังคง
ุ
เป็นอาหารหลักของชาวอินเดีย โดยข้าวจะถูกหุงร่วมกันกับน้ำนมหรือน้ำ ในขณะที่นมและ
์
ผลิตภัณฑอื่นๆที่แปรรูปจากนมเช่น เนย และนมเปรี้ยว (curd) ก็ถูกใช้ในการประกอบอาหาร
ด้วยเช่นเดียวกัน
เมื่อเข้าสู่สมัยคุปตะ ผู้คนพัฒนาเรื่องอาหารการกินกันไปอย่างหลากหลาย แต่ข้าว ข้าว
บาร์เลย์และนมยังคงเป็นอาหารหลักที่สำคัญ จากบันทึกของพระถังซำจั๋งหรือเหี้ยน ซัง (Hsuan
Tsang) ภิกษุจีนที่เดินทางเข้ามาในอินเดียในสมัยคุปตะได้กล่าวไว้ว่า อาหารที่สำคัญของ
นักศึกษาในมหาวิทยาลัยนาลันทาคือ นมและนมเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีธัญพช (Cereals) และ
ื
ผลไม้ เช่น ลูกแพร ลูกพช (นำเข้าจากจีน) แอพพริคอต (appricots) องุ่น ลูกพลัม (plums)
ี
(ปลูกอยู่ในแถบกัษมีระ) นอกจากนี้ยังมีแตงโมและทับทิมซึ่งปลูกอยู่ทั่วไป สังคมอินเดียในยุคนี้มี
ทั้งกลุ่มที่นิยมบริโภคผัก (Vegetarian) และกลุ่มผู้ที่นิยมบริโภคเนื้อ โดยเนื้อที่นำมาบริโภค
ประกอบไปด้วย เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อห่าน (geese) เนื้อไก่ เนื้อเม่น (porcupines) เนื้อ
13
12
ิ
นกพราบ (pigeons) และเนื้อปลา อย่างไรก็ดี จากคัมภีร์ประเภทสมฤติ (Smriti) กล่าวว่า
ผู้หญิงห้ามบริโภคเนื้อสัตว์ เว้นแต่ในเวลาเจ็บป่วยและหลังคลอดเท่านั้น ในขณะที่เครื่องดื่มที่
14
เป็นที่นิยม ได้แก่ สุรา น้ำอ้อย (sugar cane) น้ำองุ่น และเหล้าองุ่น
ในส่วนของเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับนั้น โดยทั่วไปผู้ชายจะสวมชุดโธตีและผ้า
โพกศีรษะ ในขณะที่ผู้หญิงจะสวมเสื้อท่อนบน กระโปรงชั้นในท่อนล่าง เสื้อคลุมยาว และผ้าพัน
ไหล่ เสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทำด้วยผ้าฝ้าย ในขณะที่ผ้าไหมที่นำเข้ามาจากจีนมัก
ถูกใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ อย่างไรก็ดี ผู้คนที่อยู่ในวรรณะสูง เช่น กษัตริย์ ได้รับอิทธิพลการแต่ง
กายจากซิเถียน ซึ่งเป็นชนต่างชาติมาด้วย เช่น การใส่เสื้อขนสัตว์ (coat) เสื้อคลุมกันหนาว
(overcoat) และกางเกง (trouser) เป็นต้น ยกตัวอย่างเหรียญของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 และ
พระเจ้าสมุทรคุปต์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงสวมพระสนับเพลาแบบปาจามา (pyjama)
และเสื้อคลุมชั้นนอก (tunic) โดยเฉพาะพระสนับเพลาที่ตกแต่งด้วยลูกปัดและมีความพอดี
15
องค์ นอกจากเครื่องแต่งกายแล้ว เครื่องประดับที่ปรากฏขึ้นทั้งจากหลักฐานประเภทเหรียญ
10 เชื่อกันว่าโสมะเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ตามภูเขาสูงในแถบเทือกเขาหิมาลัย
11 Rama Shankar Tripathi. (1992). History of Ancient India. Delhi : Motilal Banarsidass Publishers Private
Limited, p. 36.
12 Sarla Khosla. (1982). Gupta Civilization. New Delhi : Intellectual Publishing House, pp. 42-43.
13 เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นภายหลังศรุติเพื่ออธิบายเนื้อหาและสนับสนุนให้การศึกษาคัมภีร์พระเวทเป็นไปโดยถูกต้อง เช่น คัมภีร์
อุปนิษัท คัมภีร์มนูศาสตร์ คัมภีร์ปุราณะ มหากาพย์มหาภารตะและรามายณะ เป็นต้น
14 ดนัย ไชยโยธา. ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, หน้า 339.
15 Sulochana Ayyar. (1987). Costume and Ornaments as depicted in the Early Sculptures of Gwalior
Museum. Delhi : Mittal Publications, p. 81.