Page 139 - 001
P. 139
128
ขนส่งที่สะดวก เนื่องจากมีเส้นทางบกเช่นทางหลวงที่ทางรัฐเป็นผู้ดูแลทั้งในด้านการอำนวย
่
ความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่พอค้าและนักเดินทาง ในขณะที่แม่น้ำคงคา พรหมบุตร
นรรมทา กฤษณา โคทาวรีและเกเวอรี เป็นแม่น้ำสำคัญที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทางเรือและการ
เดินทาง
สำหรับการค้าภายนอกประเทศนั้น อินเดียมีความสัมพนธ์ทางการค้ากับต่างประเทศมา
ั
ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีการติดต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ในช่วงศตวรรษก่อนหน้า เมื่อเข้า
ั
ั
สู่สมัยคุปตะความสัมพนธ์ดังกล่าวได้พฒนามาอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนช่วยให้การค้าทางทะเล
ื่
และเมืองท่าต่างๆทั้งในอินเดียเองและประเทศคู่ค้ามีความเฟองฟเป็นอย่างมาก โดยผู้ปกครอง
ู
ได้ให้ความสำคัญกับการค้าภายนอกประเทศซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีของพระเจ้าจันทร
คุปต์ที่ 2 ที่ได้ขับไล่พวกศกะทางตะวันตกออกไปและยึดเมืองคุชราตและกะเธียวาร์ ซึ่งทั้งสอง
เมืองได้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการติดต่อค้าขายกับต่างชาติในสมัยนี้
ส่วนเมืองท่าอื่นๆที่สำคัญอาทิ บรอช (Broach) ตามรลิปติ (Tamralipti) กัลยาณ
(Kalyana) โซล แคมเบย์ ต่างเชื่อมต่อกับทางหลวงของรัฐเพื่อให้การขนส่งมีความสะดวกสบาย
มากขึ้น ทางอินเดียใต้ไกลในอาณาจักรโจฬะก็ปรากฏท่าเรือมากมาย ซึ่งท่าเรือต่างๆเหล่านี้ไม่
เพียงแต่ใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นเส้นทางที่ได้นำเอาวัฒนธรรมของอินเดียไป
เผยแพร่ยังที่ต่างๆในโลกด้วย ทั้งนี้ เรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทาง เส้นทางการค้าและการค้าทาง
ทะเลมักปรากฏอยู่ในวรรณกรรมต่างๆในยุคนี้ เช่น ในศกุนตลาได้กล่าวถึงความตายของพ่อค้า
แห่งหัสตินาปุระเนื่องจากเรือล่ม หรือในคัมภีร์มหาวงศ์ที่ได้กล่าวถึงการเดินทางของพระมหินท์
(โอรสของพระเจ้าอโศก) ที่เดินทางมาลังกา และบันทึกของหลวงจีนฟาเหียนถึงเส้นทางการ
เดินทางมาลังกา เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏภาพวาดในถ้ำอชันตาหมายเลข 2 รูปเรือและเรือ
สินค้า กำหนดอายุได้อยู่ในราว พ.ศ. 1068-1193 (ค.ศ. 525-650) ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับ
สมัยคุปตะ
สินค้าออกที่สำคัญของอินเดียได้แก่ หินมีค่า ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ข้าวสาลี เครื่องเทศ ไม้สัก
น้ำตาล งาช้าง ไข่มุก ธัญพืช เครื่องหอมและสมุนไพร ในขณะที่สินค้านำเข้าได้แก่ ทองคำ เงิน
17
ดีบุก ตะกั่ว และม้า การค้าของอินเดียแผ่กระจายไปทั้งด้านซีกโลกตะวันออกและตะวันตก
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในแถบตะวันออกคือ จีน และประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในขณะที่ในแถบตะวันตกประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ อาหรับ เปอร์เซีย และโรมัน (ในยุคนี้
กลายเป็นจักรวรรดิไบเซนไทน์ไปแล้ว) อย่างไรก็ดี การค้ากับโรมันไม่ได้คึกคักดังเช่นในศตวรรษ
ก่อนหน้าอีกต่อไปแล้ว
การค้าขายของอินเดียทั้งภายในและภายนอกประเทศ สิ่งที่จำเป็นนอกจากการ
คมนาคมที่สะดวกแล้ว ยังเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ เนื่องจากสินค้าต่างๆขนส่งมาจาก
แหล่งทรัพยากรทั่วประเทศอินเดีย ดังนั้น จึงต้องมีผู้ที่รวบรวมตัวสินค้าเพอส่งขายออกไปนอก
ื่
พื้นที่ ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวเป็นของสมาคมพอค้าอันมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการก่อสร้างเศรษฐกิจที่
่
แข็งแกร่งในสมัยคุปตะนี้
17 Rama Shankar Tripathi. History of Ancient India, p. 210.