Page 134 - 001
P. 134
123
ี
คุปต์ได้แย่งชิงราชบัลลังก์จากพระโอรสของสกันคุปต์มาได้ แต่ธำรงอยู่ได้เพยงช่วงระยะเวลา
สั้นๆ ก็เสด็จสวรรคต หลังจากนั้นไม่ปรากฏความชัดเจนว่าผู้ใดเป็นผู้สืบทอดต่อจากพระองค์
เนื่องจากหลักฐานที่ยังหลงเหลือปรากฏข้อมูลที่มีความแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น เหรียญที่พบ
ที่นาลันทาแสดงว่าผู้สืบต่อราชบัลลังก์คือ นรสิงห์คุปต์ (Narasimha Gupta) แต่เหรียญอีกกลุ่ม
ุ
หนึ่งซึ่งพบที่นาลันทาเช่นเดียวกันกลับเป็นของพทธคุปต์ (Budha Gupta) ในขณะที่ศิลาจารึก
จากนาลันทาชี้ให้เห็นว่ากษัตริย์พระองค์ต่อมาคือ กุมารคุปต์ที่ 2 (Kumara Gupta II)
ุ
พธคุปต์ (Budha Gupta) ครองราชย์ พ.ศ. 1020-1043 (ค.ศ. 477-500) ในยุคนี้ แม้
อาณาจักรคุปตะจะยังดูเหมือนสมบูรณ์เช่นเดิม แต่ภายในกลับเริ่มมีปัญหา เห็นได้จากเรื่องผู้สืบ
สันตติวงศ์ และการบริหารภายในประเทศ กล่าวคือ อำนาจบางส่วนไปอยู่ในมือของขุนนาง เช่น
ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประพฤติตัวเสมือนเจ้าประเทศราช โดยตั้งตำแหน่งตนเองว่าเป็นมหาราช
แสดงออกว่าจงรักภักดีแค่เพียงในนามเท่านั้น ในช่วงเวลานี้พระเจ้าพุธคุปต์ยังสามารถต้านทาน
การรุกรานของพวกหูณะที่รุกรานเข้ามาทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และวากาฏกะที่มาจากทาง
ใต้ได้อยู่
ผู้สืบทอดต่อมาและการแตกแยกของอาณาจักร ราวพ.ศ. 1043-1113 (ค.ศ. 500-
570) ในช่วงเวลานี้เจ้าชายในราชสกุลคุปตะที่ดูแลพนที่ต่างๆได้แยกตัวออกมาปกครองตนเอง
ื้
โดยไม่ขึ้นกับส่วนกลางแล้ว ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรแตกสลายลง พร้อมๆกัน
กับที่พวกหูณะนำโดยโตรมาณะ (Toramana) และโอรสของพระองค์นามว่ามิหิรกุล
(Mihirakula) สามารถยึดแถบมัลวะ (Malwa) ไว้ได้ สันนิษฐานว่าพระราชาของอาณาจักรคุป
ตะองค์ท้ายๆ คือ กุมารคุปต์ที่ 3 และวิษณุคุปต์ (Vishnu Gupta) หลังจากนั้น อาณาจักรอัน
กว้างใหญ่ไพศาลก็ล่มสลายลงเหลือเพียงพื้นที่เล็กๆ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1113 เป็นต้นไป ก็ไม่พบ
พระนามใดๆของกษัตริย์ในราชวงศ์คุปตะอีกเลย แม้แต่ชื่อของอาณาจักรก็สูญสลายไปจากหน้า
ประวัติศาสตร์
สาเหตุการล่มสลายของอาณาจักรคุปตะ
ในช่วงเวลากว่า 250 ปีที่อาณาจักรคุปตะปกครองภาคเหนือของอินเดีย ถือว่าเป็น
ช่วงเวลาที่เจริญทั้งทางด้านการปกครอง การบริหารจัดการ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ดังนั้น จึง
ได้มีผู้ยกย่องว่าเป็นสมัย “ยุคทองในประวัติศาสตร์อินเดีย” อย่างไรก็ดี อาณาจักรคุปตะก็ไม่
อาจต้านทานสัจธรรมของโลกไปได้ ความเสื่อมของอาณาจักรเริ่มขึ้นในปลายรัชสมัยพระเจ้า
สกันทคุปต์ ซึ่งในยุคที่พระองค์ครองราชย์อยู่นั้น ได้ต่อสู้ปกป้องดินแดนจากพวกหูณะ ซึ่งจำเป็น
ที่จะต้องมีการเก็บภาษีอย่างหนักเพอใช้ในการบำรุงกองทัพ ทำให้เกิดความตึงเครียดทางด้าน
ื่
เศรษฐกิจ แม้พระองค์จะสามารถปกป้องดินแดนไว้ได้ แต่หลังจากนั้น การเกิดศึกสงคราม
บ่อยครั้งก็มีส่วนทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลง บรรดาผู้ว่าราชการจังหวัดหลายคนแยกตัวออกไป
ปกครองพนที่ต่างหากไม่ยอมขึ้นอยู่กับอาณาจักร และสถาปนาตนขึ้นมาเป็นเจ้าเหนือหัว ดังนั้น
ื้
ปัจจัยประการหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรคุปตะล่มสลายลงคือความไร้สมรรถภาพของผู้ปกครอง
ปัจจัยอีกประการหนึ่งคือการแย่งชิงราชบัลลังก์หลังจากพระราชาองค์เก่าสวรรคต จาก
ข้อมูลที่ปรากฏ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงการเป็นกษัตริย์องค์ใหม่อยู่หลาย