Page 138 - 001
P. 138
127
ภาพจิตรกรรมและประติมากรรมแสดงให้เห็นว่า ทองและอัญมณีล้ำค่าถูกนำมาทำเป็น
เครื่องประดับประเภทต่างหู กำไลมือ และสร้อยคอ ในวรรณกรรมหลายๆเรื่อง เช่น ศกุนตลา
ยังบรรยายถึงการนำดอกไม้มาทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งผมอีกด้วย
3. สภาพทางเศรษฐกิจ สมัยคุปตะเป็นสมัยที่มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในทุกด้าน
ิ่
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเกษตรกรรมที่ผลผลิตเพมขึ้น อุตสาหกรรมและหัตถกรรมเติบโตมากขึ้น
รวมไปถึงมีการขยายตัวทางด้านการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ นำความร่ำรวยมาสู่
ื้
อาณาจักรอย่างมากมาย ความรุ่งโรจน์ทางเศรษฐกิจในสมัยคุปตะเช่นนี้ เป็นพนฐานในการ
นำพาความเจริญในด้านอื่นๆตามมาอีกมาก
• เกษตรกรรม ป่าไม้ และแร่ธาตุ ในยุคคุปตะ เกษตรกรรมยังคงเป็นอาชีพหลักของ
ประชาชน ที่ดินที่ใช้เพอการทำเกษตรกรรมเป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชนมิใช่ของรัฐ แต่รัฐมี
ื่
หน้าที่ช่วยให้การทำเกษตรกรรมมีความสะดวกสบายมากขึ้น เช่น การทำชลประทาน โดยรัฐจะ
ทุ่มเทกำลังทรัพย์เพอสร้าง ซ่อมแซมและปรับปรุงคูคลอง ท่อระบายน้ำ และบ่อน้ำที่ใช้เพอ
ื่
ื่
การเกษตร และลงโทษผู้ที่ทำลายสาธารณูปโภคประเภทนี้อย่างหนัก
ในส่วนของป่าไม้ ก็เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่นำพาความร่ำรวยมาสู่อาณาจักรอีก
ประเภทหนึ่ง โดยไม้สำคัญที่ใช้ในการค้ากับต่างชาติ คือ ไม้สัก ในขณะที่ผลผลิตอื่นๆที่ได้จากป่า
หรือสัตว์ป่าก็นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เป็นต้นว่า หนังสัตว์และงาช้าง
นอกจากนี้ ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุและอัญมณียังมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมด้านนี้
เจริญเติบโตขึ้นอย่างมาก มีการขุดเหมืองทอง เงิน ทองแดง และเหล็ก ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ใน
การสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ดังที่นักโบราณคดีได้ค้นพบโบราณวัตถุประเภทค้อนเหล็ก สิ่ว
กระดิ่งประตู ช้อน ดาบ และหม้อเหล็ก ส่วนหินมีค่าและกึ่งมีค่าต่างๆ รวมไปถึงไข่มุกและเพชร
16
ได้ถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับ ทั้งนี้ ป่าไม้และแร่ธาตุล้วนเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐในการค้าแต่
เพียงผู้เดียว
• อุตสาหกรรม จากหลักฐานทางด้านวรรณคดีและโบราณคดี ทำให้ทราบว่าในสมัย
คุปตะนั้นมีความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมทอผ้าอย่างมาก แถบคุชราต เบงกอลและบาง
แคว้นในภาคใต้กลายเป็นศูนย์กลางการทอผ้าฝ้ายที่สำคัญ อย่างไรก็ดี ผ้าขนสัตว์และผ้าไหมมี
การนิยมใช้ด้วยเช่นเดียวกัน อีกทั้งหินมีค่าและหินกึ่งมีค่าได้รับความนิยมในการนำมาทำเป็น
เครื่องประดับมากในสมัยนี้จนมีการผลิตในลักษณะอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง
• การค้าและการพาณิชย์ นอกจากอาชีพเกษตรกรแล้ว ในสมัยนี้มีการประกอบ
อาชีพที่หลากหลาย เป็นต้นว่า ช่างไม้ ช่างทาสี ช่างตีเหล็ก ช่างทอง ช่างปั้นหมอ ช่างทอผ้า ช่าง
ทำรองเท้า สถาปนิก และประติมากร ซึ่งอาชีพต่างๆเหล่านี้เป็นเครื่องกระตุ้นให้การค้ามีความ
เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยคุปตะ
ความเจริญทางการค้าดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งการค้าภายในและภายนอกประเทศ จากบันทึก
ของภิกษุจีนฟาเหียนกล่าวว่า พอค้ามีเสรีภาพในด้านการค้าขายและสามารถนำสินค้าไปขายทั้ง
่
ภายในและภายนอกประเทศได้อย่างอิสระ สำหรับการค้าขายภายในประเทศมีการคมนาคม
16 Sarla Khosla. Gupta Civilization, p. 65.