Page 135 - 001
P. 135
124
หน ประกอบกับการโจมตีจากผู้บุกรุกภายนอกอันได้แก่วากาฏกะและหูณะ ทำให้อาณาจักร
อ่อนแอลงมาก จากสาเหตุหลายๆประการดังที่กล่าวมาแล้วทำให้อาณาจักรค่อยๆเสื่อมอำนาจ
และล่มสลายลงไปในที่สุด
มรดกทางอารยธรรมสมัยราชวงศ์คุปตะ
สมัยราชวงศ์คุปตะถือเป็นยุคทองของอารยธรรมอินเดีย ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ของอาณาจักรซึ่งมีความสงบสุขยาวนานถึงกว่า 200 ปี ทำให้วัฒนธรรมด้านต่างๆมีความ
เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม ภาษา การเกษตรกรรม การค้าทั้งภายใน
และภายนอกอาณาจักร วิทยาศาสตร์ ศิลปกรรม และศาสนา ทำให้ช่วงระยะเวลานี้ได้รับการ
พิจารณาว่าเป็นสมัยแห่งความรุ่งโรจน์ที่สุดในยุคอินเดียโบราณ
1. การบริหารบ้านเมือง แบ่งเป็นส่วนของรัฐบาลกลางและส่วนจังหวัด ส่วนของรัฐบาล
กลาง จะมีกษัตริย์เป็นผู้นำในการบริหารงาน และมีฐานะเป็นสมมติเทพตามลัทธิเทวราชา
(Divine King) มีพระราชอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง มีการสืบราชสมบัติโดยการสืบสันตติ
วงศ์ ทำให้ฐานะของกษัตริย์ทรงอำนาจและมั่นคง ทรงมีสภาปกครองอันประกอบด้วยพระราช
โอรสและข้าราชการระดับสูงเป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศ และมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็น
ื่
คนกลางระหว่างกษัตริย์กับสภารัฐมนตรีและองคมนตรีเพอถวายคำแนะนำในการบริหาร โดย
กษัตริย์เป็นผู้ตัดสินใจเด็ดขาด พื้นที่ที่ทรงมีอำนาจปกครองโดยตรง คือ บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา
ในขณะที่ส่วนอื่นของอาณาจักรแบ่งออกเป็นแคว้นต่างๆเรียกว่า “เทศา” (Desa) แต่ละ
เทศาแบ่งย่อยเป็น “ประเทศ” (Pradesha) หน่วยการปกครองที่เล็กที่สุดเรียกว่า “ครมะ”
(Grama) ผู้ปกครองเทศาและประเทศได้รับมอบอำนาจในการปกครอง โดยส่วนกลางจะไม่เข้า
ไปเกี่ยวข้องกับการปกครองภายใน ไม่มีการส่งข้าราชการจากเมืองหลวงไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วน
หัวเมือง ผู้ปกครองหัวเมืองจึงมีอิสระและอำนาจมาก อย่างไรก็ดี หัวเมืองเหล่านี้ต้องนำส่งภาษี
ให้กับส่วนกลางและต้องส่งเครื่องบรรณาการให้กับกษัตริย์ในส่วนกลาง รวมไปถึงความ
ช่วยเหลือในการส่งทหารเมื่อเกิดศึกสงครามด้วย การปกครองในรูปแบบดังกล่าวประสบ
ความสำเร็จอย่างสูงและนำพาความสงบมาสู่อาณาจักรกว่า 250 ปี อีกทั้งยังเป็นต้นแบบให้กับ
อาณาจักรอื่นๆ เช่น วากาฏกะ จาลุกยะ เป็นต้น
2. สภาพสังคม ในสมัยคุปตะได้มีปรากฏการณ์ที่สำคัญ 3 ประการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยน
แปลงขึ้นในสังคมอินเดีย ประการแรกคือ การฟนฟศาสนาฮินดูภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์
ู
ื้
คุปตะ ทั้งนี้ การแบ่งชนชั้นในสังคมเป็นความพยายามแบ่งตามวรรณะที่มีมาแต่กำเนิด โดย
วรรณะพราหมณ์ได้รับการยกย่องให้มีสถานภาพสูงสุดจากทั้ง 4 วรรณะ ประการที่สอง การซึม
ซับวัฒนธรรมจากต่างชาติ เป็นต้นว่าพวกศกะและกุษาณะ ซึ่งเป็นราชวงศ์ต่างชาติที่ได้เข้ามา
ิ่
ก่อตั้งในอินเดียก่อนหน้านี้ และประการที่สาม คือ การเพมขึ้นของการค้า อันนำพาซึ่งความ