Page 133 - 001
P. 133

122


                   (Prabhavati) ไปสมรสกับพระเจ้ารุทรเสนะที่ 2 (Rudrasena II) กษัตริย์แห่งวากาฏกะ

                   (Vakatakas) อันเป็นอาณาจักรที่ปกครองอยู่ในแถบมัธยประเทศ (Madhaya Pradesh) มหา
                   ราษฏระ (Maharashtra) และตะวันตกเฉียงเหนือของอานธระประเทศ หลังรุทรเสนะ
                   สิ้นพระชนม์ พระนางประภาวตีปกครองต่อ ช่วงนี้ราชวงศ์วากาฏกะอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักร

                   คุปตะ
                          ในสมัยของจันทรคุปต์ที่ 2 วัฒนธรรมอินเดียเจริญสูงสุด นับเป็นยุคทองของอินเดีย ทรง

                   ตั้งศักราช “วิกรมศักราช” ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในอินเดียเหนือ ทั้งนี้ ความเจริญรุ่งเรืองของ
                   อาณาจักรในสมัยนี้เห็นได้จากบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien)  ที่เดินทางเข้ามาใน
                   อินเดียเพื่อคัดลอกพระไตรปิฎก บันทึกการเดินทางได้ระบุถึงวัดวาอารามในพุทธศาสนาจำนวน

                   มาก ฟาเหียนกล่าวว่าอินเดียเป็นประเทศที่สงบ มีระบอบการปกครองที่นุ่มนวล อาชญากรรมมี
                   น้อยมาก การเดินทางทำได้สะดวกไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง

                          จากบันทึกของฟาเหียนแสดงให้เห็นว่าในช่วง 700 ปี อินเดียมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง
                                                                    ุ
                   มากตั้งแต่สมัยที่เมกัสเธเนสเคยบันทึกไว้ ศีลธรรมทางพทธศาสนาและศาสนาเชนได้ค่อยๆซึม
                   เข้าสู่สังคมอินเดียอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเฟื่องฟูมาก แต่ศาสนาพราหมณ์ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน

                   ในช่วงนี้อินเดียดูเหมือนว่าจะเป็นดินแดนที่มีความสุขและเจริญสูงสุดในโลก เนื่องจากขณะนั้น
                   อาณาจักรโรมันกำลังจะเสื่อมสลาย และจีนก็กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากราชวงศ์ฮั่น
                                5
                   ไปสู่ราชวงศ์ถัง
                          กุมารคุปต์ที่ 1 (Kumara Gupta I) ครองราชย์ราว พ.ศ. 958-998 (ค.ศ.415-455)
                   ทรงเป็นพระโอรสที่ประสูติกับพระอัครมเหสีธรุวเทวี สันนิษฐานว่านามพระยศของพระองค์คือ

                                                                                             ิ
                   “มเหนทรทิตย์” (Mahendraditaya) เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทำพธีอัศวเมธ
                   (Asvamedha) เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ ดูเหมือนว่ามีความเป็นไปได้ที่พระองค์พยายามที่จะ

                         ื้
                                                                                 ั
                   พิชิตพนที่ทางใต้ของแม่น้ำนรรมทา (Narmada) ซึ่งส่งผลต่อความสัมพนธ์กับอาณาจักรวากาฏ
                   กะ ในช่วงปลายรัชสมัยอาณาจักรคุปตะถูกรุกรานจากพวกหูณะ  ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เข้ามา
                                                                               6
                   ครอบครองแบคเตรียอยู่พกหนึ่งแล้ว จากนั้นจึงข้ามเทือกเขาและเข้าสู่ที่ราบอินเดีย อย่างไรก็ดี
                                          ั
                   ตลอดรัชกาลพระองค์ยังสามารถรักษาพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของอาณาจักรไว้ได้ครบถ้วน แม้
                   จะมีการศึกสงครามในปลายรัชกาลก็ตาม

                          สกันทคุปต์ (Skanda Gupta) ครองราชย์ พ.ศ. 998-1010 (ค.ศ.455-467) พระเจ้า
                   แผ่นดินพระองค์นี้ได้ต่อสู้กับผู้รุกรานตลอดรัชกาล โดยเฉพาะพวกหูณะ ทำให้ชนต่างชาติกลุ่มนี้
                   ไม่กล้าเข้ามารุกรานอาณาจักรต่อไปอีกถึง 50 ปี พระองค์ครองราชย์อยู่ประมาณ 12 ปี และถือ

                   เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของราชวงศ์คุปตะ หลังจากนั้นอาณาจักรก็เริ่มเสื่อมลง และ
                   อำนาจได้กลับไปอยู่ในมือของขุนนาง

                          ปุรุคุปต์ และผู้สืบทอด(Puru Gupta and the successors) ครองราชย์ พ.ศ. 1010-
                   1012 (ค.ศ. 467-469) หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าสกันทคุปต์ซึ่งเป็นพี่ชายต่างมารดา ปุรุ


                          5  จิรัสสา คชาชีวะ. โบราณคดีอินเดีย, หน้า 196.
                          6  รู้จักกันในอีกชื่อว่าพวกฮั่นขาว (White Han) เป็นกลุ่มชนในแถบเอเชียกลาง สันนิษฐานว่าเป็นสาขาหนึ่งในกลุ่มเตอร์โก-
                   มองโกล (Turko-Mongol)
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138