Page 132 - 001
P. 132
121
รามาคุปต์ (Rama Gupta) ดังที่กล่าวไปแล้วว่ารามาคุปต์ได้ปรากฏพระนามขึ้นในงาน
เขียนบางชิ้น โดยชี้ให้เห็นว่า พระองค์เป็นโอรสและผู้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าสมุทร
คุปต์ แต่ในขณะที่ทำสงครามกับพวกศกะนั้น พระองค์ได้ยอมจำนนและยกมเหสีของพระองค์ซึ่ง
มีพระนามว่าธรุวเทวี (Dhruvadevi) ให้แก่พวกศกะ แต่พระอนุชาของพระองค์ คือ จันทรคุปต์
ไม่เห็นด้วยในการกระทำอันน่าอดสูนี้ จึงบุกเข้าไปสังหารราชาแห่งศกะแล้วชิงองค์พระมเหสีของ
พระเชษฐาคืนมา หลังจากนั้นจึงปลงพระชนม์ชีพพระเชษฐาแล้วทรงอภิเษกสมรสกับพระนาง
ธรุวเทวี แล้วตั้งองค์เป็นกษัตริย์สืบต่อมา
แม้เรื่องราวข้างต้นจะปรากฏอยู่ในงานเขียนบางฉบับ แต่ไม่มีหลักฐานทาง
ิ
ประวัติศาสตร์ชิ้นใดที่จะสามารถพสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริงเลย บันทึกที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลา
เดียวกันกลับไม่มีการอ้างถึงรามาคุปต์ ซึ่งเป็นนัยยะที่สำคัญว่าจันทรคุปต์เป็นผู้สืบสันตติวงศ์
ต่อมา อย่างไรก็ดี มีความพยายามอธิบายเรื่องดังกล่าวไว้ถึง ความเป็นไปได้มากที่สุดเกี่ยวกับ
เรื่องของรามาคุปต์คือ หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าสมุทรคุปต์ พระองค์อาจจะเสด็จมาจาก
ทางด้านตะวันตกของอาณาจักร มีการต่อสู้กันในช่วงสั้นๆ แล้วพระองค์จึงถูกจันทรคุปต์สังหาร
ในที่สุด
จันทรคุปต์ที่ 2 (Chandra Gupta II) ครองราชย์ราว พ.ศ. 923-958 (ค.ศ.380-413)
ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าสมุทรคุปต์ที่ประสูติกับพระอัครมเหสีทัตตะเทวี (Dattadevi)
บางครั้งพระองค์ถูกเรียกว่าเทวะคุปต์บ้าง เทวะราชาบ้าง หรือเทวะศรีบ้าง นักวิชาการบางท่าน
เชื่อว่าพระองค์เป็นคนเดียวกับวิกรมาทิตย์แห่งอุชเชนี (Vikramaditya of Ujjayini) ในตำนาน
ของอินเดีย จันทรคุปต์ที่ 2 ได้สืบทอดความเป็นนักรบต่อจากพระราชบิดา ซึ่งนอกจากพระองค์
ิ่
จะรับช่วงอาณาจักรอันยิ่งใหญ่มาแล้ว พระองค์ยังขยายอาณาเขตเพมด้วยวิธีทางการทูตและ
การสงคราม คู่ต่อสู้หลักๆของพระองค์คือ พวกศกะที่ครองคุชราตและกะเธียวาร์ (Kathiawar)
ทางตะวันตกอยู่ในขณะนั้น เมื่ออาณาจักรของศกะอ่อนแอลงเพราะปัญหาภายใน พระองค์ได้ใช้
โอกาสนี้บุกเข้าทำลายเมืองและสังหารกษัตริย์ของศกะที่ทรงพระนามว่ารุทรสิงห์ที่ 3
(Rudrasimha III) และผนวกพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรคุปตะ เป็นอันปิดฉากอิทธิพลจาก
4
ต่างชาติในอินเดียที่มีมากว่า 300 ปี
การขยายอาณาเขตไปทางตะวันตกจรดทะเลอาระเบียเช่นนี้ นอกจากจะสามารถกำจัด
อิทธิพลจากต่างชาติได้แล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้อาณาจักรคุปตะสามารถติดต่อกับโลก
ิ่
ตะวันตกได้ทางตรงผ่านความสัมพนธ์ทางการค้า เมืองท่าและสถานีการค้าที่เพมขึ้นในแถบคุ
ั
ชราตและกะเธียวาร์นำพาความมั่งคั่งมาสู่อาณาจักรอย่างมากมาย ในสมัยนี้พระองค์ย้ายเมือง
หลวงจากเมืองปาฏลีบุตรไปอยู่ที่เมืองอโยธยา ทรงครอบครองพนที่ของอินเดียเหนือทั้งหมด
ื้
ดังนั้น จึงทรงแบ่งจักรวรรดิออกเป็นมณฑล เพื่อสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง
จันทรคุปต์ที่ 2 ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของสถานะพระองค์เองด้วยนโยบายการ
แต่งงานระหว่างพนธมิตร ตัวพระองค์เองอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงกุเวรนาคา (Kuveranaga)
ั
แห่งตระกูลนาคา แล้วให้พระราชธิดาที่เกิดจากพระมารดาตระกูลนาคาพระนามว่าประภาวตี
4 R.C. Majumdar. (1977). Ancient India. Delhi: Motilal Banarsidass Publ., p. 234.