Page 136 - 001
P. 136

125


                   รุ่งเรือง และช่วยยกระดับมาตรฐานชีวิตให้กับกลุ่มคนทำการค้า ซึ่งนักธุรกิจเหล่านี้เองที่มีส่วน
                                                                 7
                   สำคัญที่ช่วยในเรื่องการเติบโตขึ้นของวัฒนธรรมเมือง
                          จากหลักฐานงานเขียนของกาลิทาส  (Kalidasa) ได้กล่าวถึงวรรณะต่างๆในศาสนา
                                                           8
                   พราหมณ์ โดยกล่าวว่าวรรณะพราหมณ์เป็นผู้ที่อยู่ชนชั้นสูงที่สุดในสังคม กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับ

                   การศึกษาที่ดี ใช้ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาพูด และมักได้รับสิทธิพิเศษอยู่เสมอ ในขณะที่วรรณะ
                   กษัตริย์จะเป็นวรรณะที่มีความสำคัญรองลงมา ส่วนพวกไวศยะหรือพวกแพศย์มักเป็นชนชั้น

                   กลางที่ประกอบอาชีพพ่อค้าหรืออยู่ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ และวรรณศูทร ซึ่งต่ำสุดทั้งในทาง
                   วรรณะและทางสังคม มักประกอบอาชีพประเภทการทำความสะอาด ปัดกวาดสิ่งสกปรก เช่น
                   การล้างท่อหรือถนน เป็นต้น อย่างไรก็ดี กาลิทาสได้กล่าวถึงวรรณะที่ห้าไว้ด้วย นั่นคือ วรรณะ

                   จัณฑาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตอยู่นอกเมือง จัณฑาลจัดอยู่ในวรรณะสังกร ซึ่งมารดา
                   มีวรรณะสูงกว่าบิดา ในกรณีของจัณฑาลนั้น บิดาจะมีวรรณะศูทร ในขณะที่มารดาจะมีวรรณะ

                   พราหมณ์
                          แม้ระบบวรรณะภายใต้การสนับสนุนของราชวงศ์คุปตะดูเหมือนมีความเข้มงวดและมี
                   ความพยายามที่จะจัดระเบียบแบบแผนมากยิ่งขึ้น เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความต้องการที่จะให้

                   แต่ละวรรณะจำกัดอยู่แต่ในอาชีพของตนเองเท่านั้น แต่จากหลักฐานวรรณกรรมประเภทชาดก
                       ุ
                   ในพทธศาสนา กลับแสดงให้เห็นว่ามีผู้คนที่อยู่ในวรรณะพราหมณ์และวรรณะกษัตริย์ประกอบ
                   อาชีพอื่นๆด้วย เป็นต้นว่า แพทย์ พอค้า ประติมากร และนายพราน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า
                                                   ่
                   ความพยายามในการเคร่งครัดเกี่ยวกับวรรณะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
                   ของการจำกัดอาชีพตามวรรณะ และการแต่งงานข้ามวรรณะ

                          ในสมัยนี้ สถานะของผู้หญิงตกต่ำลง เด็กผู้หญิงถูกบังคับให้แต่งงานตั้งแต่ก่อนบรรลุนิติ
                   ภาวะ เมื่อแต่งงานแล้วก็อยู่ในความดูแลของสามี เมื่อเข้าสู่วัยชราก็อยู่ในความดูแลของบุตร

                   การศึกษาถูกจำกัดอยู่แค่ผู้ที่อยู่ในวรรณะสูง อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงสามารถที่จะเลือก
                                                           ์
                   สามีของตนเอง และแต่งงานเมื่ออายุถึงเกณฑแล้วได้ การแต่งงานครั้งที่ 2 ของหญิงม่ายเป็นที่
                   ยอมรับกันในสังคม ผู้หญิงในฐานะภรรยาได้รับความคาดหวังจากสังคมว่าต้องเป็นผู้ที่มีความ

                   รับผิดชอบหน้าที่ในครอบครัวและมีคุณธรรมจริยธรรมที่สูงส่ง ซึ่งก็จะได้รับความเคารพนับถือ
                   เป็นสิ่งตอบแทน ภรรยาจะไม่ถูกสามีทอดทิ้งโดยเด็ดขาดเว้นแต่ว่านางจะทำผิดกฎหมาย เช่น มี

                   ชู้ หรือมีบุตรกับชายอื่นที่ไม่ใช่สามี แม้สถานะของผู้หญิงในสมัยนี้จะด้อยกว่าผู้ชาย แต่ก็พบว่า
                   ผู้หญิงได้เข้าไปมีบทบาททั้งในกิจการด้านศาสนาและกิจกรรมทางด้านการเมือง บางคนทำ
                   หน้าที่หัวหน้าหมู่บ้าน บางคนดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑล เป็นต้น นอกจากนี้ประเพณีสตี

                                                                                                   9
                   ซึ่งเป็นการเผาตนเองหลังจากที่สามีเสียชีวิตปรากฏขึ้นในหมู่ชนชั้นสูงและในบางพื้นที่เท่านั้น
                          ในขณะที่ในเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นหากพจารณา
                                                                                               ิ
                   หลักฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมา ชาวอินเดียโบราณเริ่มต้นหาอาหารด้วยการหา



                          7 L.P. Sharma. Ancient History of India (Pre-historic Age to 1200 A.D.), p. 206.
                          8  กาลิทาสเป็นกวีและนักปราชญ์ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์คุปตะ สันนิษฐานว่าเขาเป็นชาวอุชเชนี โดยช่วงเวลาที่เขามีชีวิต
                   อยู่คือ ยุคของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 จนถึงสมัยของพระเจ้ากุมารคุปต์ที่ 1 ผลงานที่มีชื่อเสียงของกาลิทาส คือ ศกุนตลา เมฆทูต ฯลฯ
                          9  Ibid., p. 208.
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141