Page 131 - 001
P. 131
120
ื้
ปกครองพนที่เล็กๆเท่านั้น ทั้งนี้ผู้ที่มีส่วนในการขยายอาณาจักรเริ่มขึ้นที่กษัตริย์องค์ที่ 3 คือ
พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1
จันทรคุปต์ที่ 1 (Chandra Gupta I) ครองราชย์ พ.ศ. 863- 878/883 (ค.ศ. 320-
335/340) การขึ้นมามีอำนาจของราชวงศ์คุปตะมาจากการที่พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ทรงอภิเษก
สมรสกับพระนางกุมารเทวี (Kumaradevi) แห่งลิจฉวี (Lichchavi) ซึ่งปกครองอาณาจักรโกศล
ั
(Kosala) ที่กำลังรุ่งเรืองและมีอำนาจมากในขณะนั้น การผูกสัมพนธ์กันด้วยการแต่งงาน ส่งผล
ให้พระเจ้าจันทรคุปต์สามารถขยายดินแดนเหนืออาณาจักรมคธ โกศล โกสัมพี รวมไปถึงพหาร
ิ
บางส่วนของเบงกอล และภาคตะวันออกของอุตตรประเทศ เมื่อพระเจ้าจันทรคุปต์สิ้นพระชนม์
ผู้ที่สืบราชบัลลังก์ต่อมาคือ พระเจ้าสมุทรคุปต์
สมุทรคุปต์ (Samudra Gupta) ครองราชย์ราวพ.ศ. 878/883-923 (ค.ศ. 335/340-
380) หลักฐานทางโบราณคดีที่ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าสมุทรคุปต์ที่สำคัญ คือ จารึก
ประศาสติ (Prashasti) ที่จารึกอยู่บนศิลาทรายสีแดงที่อิรัน (Eran) จารึกแผ่นทองแดงพบที่คยา
และนาลันทา ทั้งนี้ จารึกประศาสติที่สำคัญที่สุดในรัชสมัยของสมุทรคุปต์คือ จารึกประศาสติบน
หินที่อัลลาหบัด (Allahabad)
1
สมุทรคุปต์เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ที่สืบต่อเจตนารมณ์ของผู้เป็นบิดา เนื่องจากทรงขยาย
พระราชอำนาจไปทั่วอินเดียเหนือ ตั้งแต่ปัญจาบ (Punjab) ไปจรดพรมแดนอัสสัม (Assam)
ศูนย์กลางของอาณาจักรในสมัยนี้อยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร นอกจากนี้ พระองค์ได้ยกทัพเลียบชายฝั่ง
ื่
ทะเลด้านตะวันออก (อ่าวเบงกอล) เพอลงไปยังภาคใต้ ระหว่างทางได้ปราบปรามชนเผ่าและ
ผู้ปกครองท้องถิ่น จนไปถึงแคว้นกาญจีของกษัตริย์ปัลลวะ อย่างไรก็ดี บางแคว้นพระองค์เพียง
ี
บังคับให้จ่ายภาษี ในขณะที่บางแคว้นพระองค์เพยงให้ถวายความจงรักภักดีเท่านั้น ในยุคสมัย
ื้
ของพระองค์ ภาคเหนือส่วนใหญ่อยู่ในการครอบครองของคุปตะ ยกเว้นที่กัษมีระ พนที่ทาง
ตะวันตกของแคว้นปัญจาบและทางตะวันตกของราชปัตนะ (Rajputana) แคว้นสินธุ์ คุชราต
และจังหวัดชายแดนทางเหนือถึงตะวันตก ที่เรียกกันว่า N.W.F.P (North-West Frontier
2
ื้
Province) ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้พนที่เหล่านั้น เป็นรัฐกันชน (buffer states) จากการ
3
รุกรานของพวกหูณะ (Hunas) ซึ่งเป็นชนเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบเทือกเขาหิมาลัย
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 เป็นผู้สืบต่อราชบัลลังก์
อย่างไรก็ดี ได้ปรากฏพระนามหนึ่งในงานเขียนของวิสาขะเทตตะ (Visakhadetta) และ
ข้อความในต้นฉบับงานเขียนของรามจันทรา (Ramachandra) และคุณะจันทรา
(Gunachandra) ที่อ้างถึงชื่อรามาคุปต์ ว่าเป็นผู้สืบทอดต่อจากสมุทรคุปต์
1 จิรัสสา คชาชีวะ.(2559). โบราณคดีอินเดีย. กรุงเทพฯ: กองทุนวิจัยและสร้างสรรค์ส่วนกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้า
195.
2 เป็นจังหวัดที่อังกฤษสมัยปกครองอินเดีย (บริติชอินเดีย) ตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) และสลายไปในปีพ.ศ. 2498
(ค.ศ. 1955) จังหวัดดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ 70,709 ตารางกิโลเมตร อยู่ระหว่างอินเดียกับอัฟกานิสถาน มีเมืองหลวงอยู่ที่เปชาวาร์
(Peshawar) พื้นที่แบ่งออกเป็น 3 เขต คือ เปชาวาร์ เทรา อิสมาล ข่าน (Dera Ismail Khan) และมาลกานด์ (Malakand)
3 L.P.Sharma. (1981). Ancient History of India (Pre-historic Age to 1200 A.D.). New Delhi: Vikas Publishing
house, p. 186.