Page 129 - 001
P. 129

118


                                                         บทที่ 8

                                                      ราชวงศ์คุปตะ

                                                                         ิ
                          ยุคที่ราชวงศ์คุปตะได้ครอบครองอินเดียได้รับการพจารณาว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความ
                   รุ่งโรจน์มากที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดีย ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรโมริยะ แม้
                   กุษาณะและศาตวาหนะจะเข้ามาสืบทอดความยิ่งใหญ่ แต่ก็ไม่ได้สร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้กับ

                   อินเดียแต่อย่างใด เมื่อกุษาณะหมดอำนาจลง พื้นที่บริเวณภาคเหนือถูกแบ่งเป็นอาณาจักรน้อย
                   ใหญ่โดยการครอบครองของกษัตริย์กลุ่มเล็กๆและชนเผ่า คุปตะได้ทำลายอาณาจักรเหล่านั้นลง
                   รวมไปถึงอิทธิพลจากต่างชาติที่อยู่ทางภาคเหนือจนถึงภาคตะวันตก และก่อตั้งอาณาจักรคุปตะ

                   ซึ่งมีรูปแบบทางการเมืองและการจัดการที่เป็นเอกภาพขึ้นทางภาคเหนือของอินเดีย ซึ่งมีความ
                   ยืนยาวกว่า 200 ปี ความมั่นคงทางการเมืองมีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจ สังคม และ

                   ศิลปวัฒนธรรมรุ่งเรืองตลอดช่วงเวลาที่คุปตะครอบครองอินเดีย

                   ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

                          การศึกษาเรื่องราวต่างๆของอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-12 นักวิชาการใช้หลักฐาน
                   ต่างๆที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นจารึก แผ่นทองแดง เหรียญ วรรณกรรม และบันทึกการ

                   เดินทางจากชาวต่างชาติ ทั้งนี้จารึกส่วนใหญ่เป็นศิลา ซึ่งนอกจากจะเป็นจารึกของราชวงศ์คุป
                   ตะเองแล้ว ยังพบจารึกของราชวงศ์อื่นๆที่ร่วมสมัยกัน เช่น วากาฏกะ (Vakatakas) กดัมพะ
                   (Kadambas) วรรมัน (Varmans) และหูณะ (Hunas) ส่วนวรรณกรรม คือ ปุราณะ (Puranas)

                   และสมฤติ (Smriti) ยกตัวอย่างเช่น วายุ-ปุราณะ มัสยะ-ปุรานะ นาลาทา-สมฤติ พฤหัสปติ-
                   สมฤติ งานเขียนของกาลิทาส (Kalidasa) ในขณะที่บันทึกของชาวต่างชาติได้แก่ บันทึกการ

                   เดินทางของหลวงจีนฟาเหียน (Fa Hien) เหี้ยนซัง (Hiuen Tsang) และอี้จิง (I-tsing)
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134