Page 111 - 001
P. 111

100


                                                         บทที่ 7

                                            ราชวงศ์กุษาณะ / ยุคอินโด-โรมัน

                          หลังจากที่ราชวงศ์โมริยะล่มสลายลง บางส่วนของอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของ

                                                                           ื้
                   ชนต่างชาติ อย่างไรก็ดี ชนต่างชาติเหล่านี้ได้เข้ามามีอำนาจในพนที่ของอินเดียมานานมากแล้ว
                                                                                                   ุ
                   กล่าวคือ เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งมาซิโดเนียได้ยกทัพมาตีอินเดียตั้งแต่ในราวพทธ
                   ศตวรรษที่ 3 และเมื่อพระองค์ยกทัพกลับ พระองค์ได้ทิ้งกองทหารบางส่วนไว้เพอให้อยู่ดูแล
                                                                                           ื่
                   ดินแดนต่างๆที่ยึดได้ในแถบภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยทหารกลุ่มนี้เองนำโดยเซลิว
                   คุส นิกาเตอร์ (Seleucus Nicator) ได้จัดตั้งราชวงศ์เซลิวซิด (Seleucid) ขึ้นมาหลังจากที่พระ

                   เจ้าอเล็กซานเดอร์สวรรคตอย่างกะทันหันระหว่างเดินทางกลับมาซิโดเนีย และได้ปกครองพื้นที่
                   ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยึดครองมาได้ตั้งแต่บาบิโลเนีย เปอร์เซีย เลอวองต์ เมโสโปเตเมีย แบค

                   เตรีย (Bactria) อัฟกานิสถาน และบางส่วนของปากีสถานในปัจจุบัน
                            ื้
                          พนที่บริเวณตอนเหนือของอินเดียเหล่านี้ พระเจ้าจันทรคุปต์แห่งราชวงศ์โมริยะได้ยึด
                   คืนมาได้ในเวลาต่อมา แต่อำนาจของกรีกบางกลุ่มก็ยังคงอยู่โดยมีการจัดตั้งแคว้นเล็กๆที่เป็น
                   อิสระโดยปกครองบางส่วนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย รู้จักกันในนาม อินโด-กรีก
                   หรือ อินโด-แบคเตรีย กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระเจ้าเมนันเดอร์ (Menander) หรือ พระ

                                                                                          ุ
                   เจ้ามิลินท์ (Milinda) ผู้สนทนาธรรมกับพระนาคเสน จนเกิดวรรณกรรมในพระพทธศาสนาขึ้น
                   คือ มิลินทปัญหา

                          ต่อมาพวกปาร์เธียน (Parthian) ซึ่งเป็นกลุ่มชาวเปอร์เซียได้เข้ามามีบทบาทในพนที่
                                                                                                   ื้
                                                        ุ
                   แถบนี้ด้วยเช่นเดียวกัน จนกระทั่งในราวพทธศตวรรษที่ 4-5 พวกซิเถียน (Scythian) กลุ่มหนึ่ง
                                                             ื้
                   ซึ่งอินเดียเรียกว่า ศกะ (Sakas) ได้เข้ามาในพนที่และผูกมิตรกับพวกปาร์เธียน และได้ตั้ง
                   ราชวงศ์ศกะ-ปาร์เธียน (Saka-Pathain) ขึ้นปกครองในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ
                   อินเดียไว้ได้ทั้งหมด

                          ชาวอินเดียเรียกชาวต่างชาติว่ายะวะนะ (Yavana) ซึ่งมาจากคำว่า โยนะ (Yona) ใน
                   ภาษาปรากิต (Prakrit) ซึ่งรับมาจากคำว่าเยาวนา (Yauna) ในภาษาเปอร์เซียเก่าอีกต่อหนึ่ง
                   คราวแรกใช้เรียกพวกกรีก แต่ต่อมาคำนี้ก็ค่อยๆขยายเรียกคนกลุ่มอื่นๆทั้งที่มาจากเอเชีย

                   ตะวันตกหรือเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก จนกระทั่งในยุคกลางของอินเดีย คำว่ายะวะนะมี
                                                                 1
                   ความหมายครอบคลุมไปถึงชาวต่างชาติต่างๆทั้งหมด

                   ราชวงศ์กุษาณะ
                          ในช่วงราวพทธศตวรรษที่ 6 (ราวต้นคริสต์ศตวรรษ) ชาวซิเถียนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า ยูห์
                                     ุ
                   ซิห์ ที่อพยพมาจากมณฑลกันสู (Kansu) ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนได้ขับไล่
                                    ื้
                   พวกศกะออกจากพนที่บริเวณแคว้นแบคเตรีย และได้ยึดครองลุ่มแม่น้ำคาบูล แคว้นคันธาระ



                          1  Himanshu P.Ray. (1988). The Yavana Presence in Ancient India. Journal of The Economic and Social
                   History of the Orient, 31 (3), p. 312.
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116