Page 97 - 001
P. 97

86


                   12- 20 คน ทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของกษัตริย์ในด้านการบริหารจักรวรรดิ กษัตริย์ทรงมี

                   อำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลในสภาทั้งสอง สำหรับการบริหารราชการส่วนกลางใช้
                   ระบบบริหารราชการขนาดใหญ่ ประกอบด้วยหน่อยงานจำนวนมาก ทำหน้าที่ควบคุมดูแลงาน
                                                              ิ
                   ด้านต่างๆ เช่น การศาล การคลัง การพระราชพธี การทหาร ตำรวจ เกษตรกรรม เหมืองแร่
                   การค้า ภาษีอากร การสร้างถนน โรงพยาบาล การขุดคลอง ฯลฯ ตำแหน่งข้าราชการที่สำคัญ
                   หลายตำแหน่งในสมัยนี้ได้แก่ ดิวาน (เทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน) รับผิดชอบ

                   ด้านการบริหาร ตำแหน่งเสนาบดี เป็นแม่ทัพรับผิดชอบฝ่ายกลาโหม ตำแหน่งยุพราชหรือรัช
                   ทายาท เป็นตำแหน่งที่สืบสายโลหิต และตำแหน่งปุโรหิตมีหน้าที่รับผิดชอบทางศาสนาและเป็น
                   พราหมณ์ที่เชี่ยวชาญในพระเวท ปุโรหิตเป็นผู้มีอำนาจมากโดยถือว่าเป็นสื่อกลางระหว่างพระ

                   เจ้ากับมนุษย  ์
                          ส่วนการบริหารราชการส่วนภูมิภาค แบ่งการปกครองออกเป็นแคว้นและเป็นประเทศ

                                                                                          ื่
                   ราชที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 มณฑล เพอช่วยให้การ
                   ปกครองมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละมณฑลจะกำหนดตำแหน่งอุปราช และอนุอุปราชออกไป
                   ปกครอง ในเขตที่อยู่ในพระราชอำนาจโดยตรงจะมีอุปราชซึ่งเรียกว่า “กุมารมหามาตร”

                   (kumar mahamatras) เป็นผู้ปกครองแต่ละมณฑล อุปราชบางคนเป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์โมริ
                   ยะ เช่น อุปราชประจำที่ตักษิลาและอุเชนี ส่วนมณฑลอื่นๆมีอนุอุปราชไปปกครอง ยกเว้นเมือง

                   ปาฏลบุตรซึ่งเป็นเมืองหลวง กษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง นอกจากนั้น ยังมีการตั้งข้าหลวงไป
                        ี
                   ประจำตามหัวเมืองใหญ่น้อยทั่วราชอาณาจักรเพอเป็นการควบคุมหัวเมืองต่างๆอย่างใกล้ชิด
                                                               ื่
                   โดยจะมีคณะผู้ตรวจราชการจากเมืองหลวงเดินทางไปตรวจราชการตามท้องถิ่นต่างๆอยู่เป็น

                   ประจำ ส่วนในเขตที่กษัตริย์ไม่ได้มีพระราชอำนาจโดยตรงนั้น ผู้ปกครองของท้องถิ่นนั้นๆจะเป็น
                   ผู้ปกครองเอง ผู้ปครองในส่วนภูมิภาคมีอำนาจกว้างขวางและเป็นอิสระจากส่วนกลาง

                   ค่อนข้างมาก เนื่องจากจักรวรรดิโมริยะมีอาณาเขตกว้างใหญ่ กษัตริย์ในราชวงศ์โมริยะจึงได้
                                   ิ
                   จัดตั้งหน่วยงานพเศษขึ้นมาเพอช่วยให้การปกครองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคง เช่น
                                              ื่
                   หน่วยสืบราชการลับและจารกรรม ซึ่งมีความก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก
                   เนื่องจากผู้เป็นนักสืบได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี
                          หน่วยการปกครองในระดับที่เล็กลงมา ได้แก่ ตำบล ซึ่งปกครองโดย “สถานิก”

                   (sthanika) มีผู้ช่วยคือ กลุ่มข้าราชการซึ่งเรียกว่า “โกปะ” (gopas) หมู่บ้านปกครองโดย “กระ
                   มิกะ” (gramika) ซึ่งได้รับเลือกจากราษฎรในหมู่บ้าน มีสภาของหมู่บ้านคือ “ปันฉาญัติ”
                   (panchayat) ทำหน้าที่จัดการดูแลเกี่ยวกับการทำความสะอาด การก่อสร้าง และซ่อมแซมถนน

                   สะพาน ตลอดจนตัดสินคดีความต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของรัฐในสมัยนี้
                   นอกจากจะได้รับมอบหมายงานด้านดูแลความสงบเรียบร้อยแล้ว ยังต้องปฏิบัติงานในด้านอื่นๆ

                   อีกด้วย เช่น ด้านชลประทาน การสร้างถนน การรังวัดที่ดิน การล่าสัตว์ การกสิกรรม การป่าไม้
                                                   17
                   การเหมืองแร่ การหล่อโลหะ เป็นต้น





                          17  สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณและศุภวรรณ ชวรัตนวงศ. อินเดีย : อดีต-ปัจจุบัน, หน้าหน้า 80-81.
                                                            ์
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102