Page 36 - 2564
P. 36
เป้าหมายการ
รูปแบบ ประเด็นประเมิน ผู้ประเมิน/วิธีการ การรายงานผล ความถี่
ประเมิน
ข้อก าหนดของ การประเมินความ ตามเอกสารควบคุมความ คณะกรรมการ IAT คณะกรรมการ ทุกปี
มหาวิทยาลัย เสี่ยง เสี่ยง /ระบบประเมิน พัฒนาระบบ
ความเสี่ยง คุณภาพ
ระบบรายงาน รายงานผลการ KPIs ระดับกลยุทธ ์ คณะกรรมการ MT/ คณะกรรมการ ทุก 3
ผลการ ด าเนินงาน KPIs ระดับปฏิบัติการ ประเมินผลการ พัฒนาระบบ เดือน
ด าเนินงาน ด าเนินงานที่บรรลุ คุณภาพ
ประจ าปี เป้าหมายเป็นร้อย คณะกรรมการ ทุกปี
ละ ประจ าส านักฯ
การทบทวน KPIs ระดับกลยุทธ ์ คณะกรรมการ MT ที่ประชุมหัวหน้า ทุก 6
KPIs ระดับปฏิบัติการ /การประชุม กลุ่มงาน เดือน
นอกจากนี้ยังนำผลประเมินระบบประเมินตามแนวทางและเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยในประเด็นการ
ประเมินตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) มาทบทวนตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์และระดับปฏิบัติการ และ
ปรับปรุงวิธีการดำเนินงานและเขียนรายงานผลการดำเนินงาน
1.2ข การประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบและการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
1.2ข(1) การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ สำนักฯ ดำเนินงานภายใต้กฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐาน
ได้แก่ พระราชบัญญัติมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ตารางที่ OP1-05) โดยกำหนดนโยบายให้ผู้บริหาร
และบุคลากรทุกคนตระหนักถึงความกังวลของสาธารณะที่มีต่อการบริการสารสนเทศและการผลิตสื่อการ
เรียนรู้ที่ถูกลิขสิทธิ์ สนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างสม่ำเสมอ มีการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการฝึกอบรม เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้การดำเนินการของสำนักฯ ในเรื่องผลิตภัณฑ์และการ
ปฏิบัติการไม่มีผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม (ตารางที่ 7.4-07)
สำนักฯ มีนโยบายในการใช้การใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตระหนักถึงการคาดการณ์
ล่วงหน้าต่อความกังวลของสาธารณะที่มีต่อผลิตภัณฑ์และการปฏิบัติการในอนาคต ประเด็นเรื่องการละเมิด
ลิขสิทธิ์ด้านการใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล รูปภาพ หรือการใช้ซอฟต์แวร์ การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ โดยการ
ประกาศแจ้งเตือนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีการอบรมให้ความรู้
เพื่อตระหนักในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงจัดกิจกรรมให้ผู้ใช้บริการคำนึงถึงเรื่อง
เหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ
1.2ข(2) การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม สำนักฯ ยึดมั่นหลักการ “TREE” ในการกำกับการดำเนินงาน
อย่างมีจริยธรรมและเป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้ผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมั่นใจว่าได้รับความเป็น
ธรรมและมีความโปร่งใส สำนักฯ มีการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม โดยจัดกิจกรรมส่งเสริม
จริยธรรมและจรรยาบรรณตามแนวทาง ITA (Integrity and Transparency Assessment) (ภาพที่ 1.2-03)
สำนักฯ กำกับให้มีการดำเนินการภายใต้ค่านิยม SQI ของสำนักฯ และค่านิยม PSU (P-Professionalism; S-
Social Responsibility; U-Unity) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งยึดมั่นปณิธาน “ถือประโยชน์ของ
24 หมวด 1 การน าองค์กร