Page 41 - 2564
P. 41
หมวด 2 กลยุทธ์
(Strategy)
2.1 การจัดทำกลยุทธ์
2.1ก กระบวนการจัดทำกลยุทธ์
2.1ก(1) กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ สำนักวิทยบริการ โดยผู้นำระดับสูงกำหนดให้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์
และเริ่มมีแผนกลยุทธ์ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2546 - 2549 เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 มีการดำเนินงานตามแผน
ั
การประเมิน ทบทวน ปรับปรุงและพัฒนาตามลำดับโดยคณะกรรมการพฒนาระบบบริหาร (ภายหลังปรับเป็น
คณะกรรมการพัฒนาระบบคุณภาพ: TQA) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 - 2552 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 - 2555 ฉบับที่
4 พ.ศ. 2556 - 2560 และฉบับที่ 5 พ.ศ. 2561 - 2565 ปัจจุบันใช้ฉบับที่ 5 (ปรับปรุงครั้งที่ 5) โดยมี
กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ และผู้รับผิดชอบแต่ละกระบวนการ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา/วิเคราะห์
สภาพแวดล้อมขององค์กร โดย หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มงานและงานวางแผน ร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ทั้งภายในและภายนอกขององค์กร และระบุโอกาสเชิงกลยุทธ์ ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ความท้าทายเชิงกล
ยุทธ์ (ตาราง OP2-02) ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดนวัตกรรม ในปีการศึกษา 2564 มีการพัฒนา
นวัตกรรมการบริการ เป็นการบริการใหม่ที่ใช้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรซึ่งเป็นโอกาสเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของ
สำนักวิทยบริการ ขั้นตอนที่ 2 การทบทวนวิสัยทัศน์ และกำหนดยุทธศาสตร์ โดยผู้บริหารขององค์กร
ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และหัวหน้าฝ่าย โดยใช้เครื่องมือ Balance Scored Card ในการ
กำหนดยุทธศาสตร์ ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน โดยคณะกรรมการ TQA
โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานในอดีตและแนวโน้มการพัฒนาการดำเนินงานในอนาคต รวมถึงการ
เทียบเคียงตัวชี้วัดผลการดำเนินงานกับคู่เทียบ ในปีการศึกษา 2564 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคู่เทียบเดิม
และคู่เทียบใหม่เพื่อกำหนดตัวชี้วัดเพิ่มเติมในรายการที่มีเป้าหมายในการพัฒนา ทั้งนี้ในกระบวนการ
ดำเนินการกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับสำนักวิทยบริการ ไปยังหัวหน้าฝ่ายเพอกำหนด
ื่
ตัวชี้วัดของฝ่าย และส่งต่อไปยังงานและตัวบุคคลเพื่อการขับเคลื่อนตัวชี้วัดให้บรรลุเป้าหมาย ขั้นตอนที่ 4 การ
จัดทำแผนปฏิบัติการ โดยคณะกรรมการ TQA จัดทำแผนยุทธศาสตร์ของสำนักวิทยบริการ และถ่ายทอดไปยัง
หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้ากลุ่มงานและสู่บุคลากรทุกคน โดยบุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนปฏิบัติการของ
ฝ่ายที่สอดคล้องและนำไปสู่เป้าหมายของแผนกลยุทธ์ของสำนักวิทยบริการ ขั้นตอนที่ 5 การนำแผนปฏิบัติ
การไปสู่การปฏิบัติ เป็นการทำข้อตกลงของหน่วยงานระดับฝ่ายทั้ง 3 ฝ่ายต่อสำนักวิทยบริการ และส่งต่อไปยัง
บุคลากรโดยการกำหนดใน TOR รายบุคคลของบุคลากรในการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี
ขั้นตอนที่ 6 การติดตามและประเมินผล โดยคณะกรรมการ TQA เป็นผู้ติดตามการดำเนินงานตามแผน
ยุทธศาสตร์และรายงานต่อผู้นำระดับสูง โดยมีการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการปีละ 6 ครั้ง
เพื่อติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
หมวด 2 กลยุทธ์ 29