Page 49 - GL004
P. 49

สรุปสภาวะการดําเนินงานสิ่งแวดลอมศึกษาฯ ในภาคราชการ
                     ในภาคราชการของไทย หนวยงานหลายแหงไดดําเนินงานที่กอใหเกิดกระบวนการเรียนรู
              เกี่ยวกับความรูดานวิทยาศาสตรสิ่งแวดลอมและธรรมชาติศึกษา ทวายังไมผสานเชื่อมโยงกับกิจกรรม
              การดํารงชีวิตและการพัฒนาของมนุษย เชนเนนไปในทางจัดทําและเผยแพรเนื้อหาผานสื่อรูปแบบ

              ตางๆ หรือมีศูนยการเรียนรูภายในสังกัด หนวยราชการบางแหงมีการจัดกิจกรรมทําโครงการ ทั้งแบบ
              ระยะสั้นและตอเนื่อง ขณะที่บางแหงมีบทบาทเกื้อหนุนทรัพยากรดานตางๆ ใหแกผูปฏิบัติงานอื่นๆ

              อุปสรรคและความสําเร็จของสิ่งแวดลอมศึกษาฯ ในภาคธุรกิจ
                     การตราพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 1) ถือเปน
              จุดเริ่มตนการวางมาตรการปกปองสิ่งแวดลอมโดยรัฐ ดวยการกําหนดใหมีการประเมินผลกระทบดาน
              สิ่งแวดลอม (EIA) เปนครั้งแรก ภาคธุรกิจจึงไดเริ่มหันมาคํานึงถึงปจจัยดานสิ่งแวดลอมในฐานะตนทุน

              ที่มองไมเห็น แตเชื่อมโยงโดยตรงกับตัวเลขของการกําไรหรือขาดทุน
                     นอกเหนือจากบทบัญญัติของรัฐแลว ปจจัยที่ไหลมาตามกระแสของโลก เชน ในชวงของ
              การประชุม Earth Summit โดยเฉพาะในระยะ 5 ปแรก ไดสงผลใหภาคธุรกิจรูสึกตื่นตัวในเรื่อง
              สิ่งแวดลอมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคธุรกิจหลายแหงไดกอตั้งองคกรสาธารณประโยชนขึ้น
              เชน หางสรรพสินคาเซ็นทรัลกอตั้งมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดลอม กลุมบริษัทสยามกลการกอตั้งสมาคม
              ธิงคเอิรธ กลุมบริษัทแปลนกอตั้งมูลนิธิสานแสงอรุณ บริษัทบางจากปโตรเลียมจัดทําโครงการเพื่อ
              สิ่งแวดลอมและสังคม กลุมธุรกิจการปโตรเลียมแหงประเทศไทย (ปตท.) ดําเนินการโครงการปลูกปา
              ถาวรเฉลิมพระเกียรติ เปนตน และในทางกลับกัน สถานการณในประเทศก็มีผลกระทบอยางสําคัญ
              โดยเฉพาะดานเศรษฐกิจ เมื่อประเทศไทยประสบปญหาวิกฤตเศรษฐกิจก็มีสวนไมนอยตอกิจกรรม

              สิ่งแวดลอมของภาคธุรกิจ และสงผลใหหลายโครงการตองลมเลิกไป เชน สมาคมธิงคเอิรท โครงการ
              ของบริษัทสิทธิผลมอเตอร และโครงการสิ่งแวดลอมของหางสรรพสินคาเดอะมอลล เปนตน
                     ลวงมาถึงทุกวันนี้ ประเด็นในเรื่องภาวะโลกรอน นับเปนกระแสความตื่นตัวที่มาแรงและ
              ครอบคลุมกวางขวางที่สุด โดยเฉพาะเมื่อภาพยนตรสารคดี An Inconvenient Truth ไดรับรางวัล
              ออสการ (Academy Award) ในป พ.ศ. 2550 และนายอัล กอร อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
              ผูบรรยายในเรื่องไดรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพของป 2007 ดูเหมือนความแปรปรวนของสภาพ
              ภูมิอากาศมีผลกระทบอยางรุนแรง ในทุกภูมิภาคของโลกจะเกิดปรากฏการณตอกย้ำสิ่งซึ่งไดนําเสนอ

              อยูใน An Inconvenient Truth เชนเดียวกับแนวความคิดเรื่องความรับผิดชอบตอสังคม (Corporate
              Social Responsibility: CSR) และมาตรฐานสากลใหมวาดวยเรื่องการรับผิดชอบตอสังคม
              (ISO 26000 หรือ ISO SR) ไดแพรหลายมากขึ้นและอาจมีการบังคับใชในอนาคตอันใกล สถานการณ
              เหลานี้มีสวนกระตุนใหภาคธุรกิจมีกิจกรรมดานสิ่งแวดลอมและชุมชนมากขึ้นอีกครั้ง






              48 ¡ÒÃà´Ô¹·Ò§ÊÙ‹ÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁÈÖ¡ÉÒà¾×èÍ¡ÒþѲ¹Ò·ÕèÂÑè§Â×¹
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54