Page 10 - GL004
P. 10
3
จากมุมมองสวนตนที่ทํางานจํากัดตัวอยูในมหาวิทยาลัย จนไดแลเห็นขอใหญใจความอยางนอย
ประการซึ่งแสดงถึงภาวะขาดแคลนความสมดุลในการคิดจนถึงขั้นเอนเอียงไปทางความคิดแบบ
เกาๆ อันเรามักมองขามไปหรือวายังมิไดใสใจเทาที่ควร
ประการแรก การเปลี่ยนแปลงในสถานะของการสรางความรูและประเภทของความรู
ที่แลวมา เราสนใจเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความรูกันเพียงเล็กนอย สนใจเรื่องการ
เปลี่ยนแปลงความรู สภาพการณเกี่ยวกับความรูนอยเกินไป แมจะมีการพูดถึงความรูที่มีฐานขอมูล
แตวาความรูกับขอมูลนั้น ก็นาจะมีความแตกตางกัน นี้นับเปนประเด็นสําคัญ เพราะสภาวะที่เรียกวา
สังคม ฐานความรู ยอมมองเห็นวาโลกนี้ตองมีความรูเปนตัวนํา เปนระบบที่เชื่อมโยง ไมปดกั้นตนเอง
เรียนรูจากทุกฝายอยางกวางขวาง เปนตน การเปลี่ยนแปลงทางดานความรู ไดสําแดงออกมา
ในหลายลักษณะ ความรูที่พัฒนาขึ้นในโรงเรียน ในสถาบันการศึกษาที่มหาวิทยาลัย ในทุกวันนี้
แมจะยังมีความสําคัญ ทวาก็ยังไมเพียงพอ เราตองยอมรับวาโลกที่กาวมาถึง ณ พ.ศ.นี้ วามีความรู
ที่มาจากผูปฏิบัติจริง มีความรูนอกระบบมีความรูของภูมิปญญาทองถิ่น นักปราชญชาวบาน ฯลฯ
กวา 2 ทศวรรษแลวที่มีการใชคําวา ภูมิปญญาทองถิ่น และภูมิปญญาชาวบาน ฯลฯ
จนเราคอนขางจะคุนชินกันแลว แตก็ไมไดมีความสนใจกันมากนัก วาความรูดังกลาวมีเนื้อหา
แตกตางจากความรูที่ไดมีการพัฒนากันในมหาวิทยาลัยอยางไร เราตั้งหลักสูตรในมหาวิทยาลัย
มากมาย โดยที่หลักสูตรจํานวนไมนอย มีมหาวิทยาลัยในเมืองใหญของตางประเทศและในประเทศ
เปนตนแบบสําหรับมหาวิทยาลัยในตางจังหวัดหลายแหง ฯลฯ มีการตั้งขอสังเกตที่นารับฟงวา
การศึกษากับการเรียนรูในสังคมปจจุบัน มีลักษณะที่วิ่งสวนทางกันมากยิ่งขึ้นทุกที มีโครงการ
การศึกษา หลักสูตรปริญญาระดับตางๆ เพิ่มขึ้นมากมาย แตความสามารถที่จะเรียนรูเรื่องปญหา
ความเดือดรอนที่สังคมเผชิญในทุกระดับซึ่งทวีมากขึ้นนั้นกลับตรงกันขาม สภาพการณที่
กลับตาลปตรกันเชนนี้เปนไปไดอยางไรกัน แตภาวะเหลือเชื่อเชนนี้เปนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและดูเหมือน
จะไมอาจหยุดยั้งตัวมันเอง
ปญหาที่จะตองพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ สิ่งที่เรียกวาความรู เกี่ยวกับ ความรูสึก
หรือไม ความรู คือ ขอมูล จดจํา แมนยํา คิดคํานวณ แตความรูสึกนั้นไดแก เรื่องความดี ความงาม
3 Michael Gibbons, et.al, The New Production of Knowledge. The Dynamics of Science and Research in
Contemporary Societies. London: Sage Publications, 1994
¡ÒÃà´Ô¹·Ò§ÊÙ‹ÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁÈÖ¡ÉÒà¾×èÍ¡ÒþѲ¹Ò·ÕèÂÑè§Â×¹
¡ÒÃà´Ô¹·Ò§ÊÙ‹ÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁÈÖ¡ÉÒà¾×èÍ¡ÒþѲ¹Ò·ÕèÂÑè§Â×¹ 9 9