Page 201 - 006
P. 201

190


                                                                         4
                   ใบจาก ฟาง หญ้า และท้ายที่สุดคือ อิฐ ซึ่งเกิดขึ้นในภายหลัง  ลักษณะสิ่งก่อสร้างของกลุ่ม
                   คนในยุคพระเวทเป็นต้นแบบที่พัฒนาไปสู่สถาปัตยกรรมอินเดียในสมัยต่อๆมา ดังนั้น เราจึง
                   ควรศึกษารูปแบบสิ่งก่อสร้างในสมัยแรกเริ่มเพื่อที่จะได้เข้าใจสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นในภายหลัง
                          เนื่องจากสิ่งก่อสร้างในสมัยพระเวทสร้างจากวัสดุที่ไม่คงทนถาวร เราจึงอาจศึกษา

                   ลักษณะของสิ่งก่อสร้างในสมัยนี้ได้จากหลักฐานที่กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทและหลักฐานทาง
                   โบราณคดีที่เป็นภาพสลักบนแนวรั้ว (railing) ของสถูปสาญจีและภารหุต

                          บ้านเรือน (Grama) สร้างด้วยไม้ ล้อมรอบด้วยรั้วเพื่อป้องกันสัตว์ร้าย รั้วนี้สร้างด้วย
                   ไม้ไผ่ มีเสาตั้งรองรับคานแนวนอน 3 คาน (เรียกว่า Suchi หรือ เข็ม เนื่องจากว่าคานนี้ถูก
                   เสียบเข้าไปในรูบนเสา) ต่อมาลักษณะรั้วแบบนี้จะถูกนำมาใช้ล้อมสิ่งอื่นๆด้วยนอกจากบ้าน

                   และหมู่บ้าน เช่น ทุ่งนา หรือแม้แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ เช่น ต้นไม้
                          นอกจากรั้วที่ล้อมรอบหมู่บ้านแล้ว ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ประตูทางเข้า

                   (Gramadavara) ซึ่งใช้เป็นทางเข้า-ออกของปศุสัตว์ด้วย ลักษณะของประตูทางเข้าแบบนี้
                   ยังคงปรากฏอยู่ในรูปของโคปุระ (Gopuram – cow gate ประตูสำหรับวัว) ตามศาสน
                   สถานต่างๆ โดยเฉพาะในอินเดียใต้ จากลักษณะของประตูทางเข้าที่ทำด้วยไม้ไผ่นี้ได้นำไปสู่

                   ประตูทางเข้าของพุทธสถานที่เรียกว่า โตรณะ (Torana)
                                             ั
                          ทั้งนี้ ลักษณะของที่พกอาศัยภายในเมืองมีรูปแบบต่างๆกัน สันนิษฐานว่ารูปแบบ
                   ดั้งเดิมน่าจะมีผังรูปกลม ส่วนในสมัยพระเวทจะมีแปลนคล้ายรังผึ้ง สร้างด้วยไม้ไผ่มีฝาหรือ
                   ผนังเป็นวงกลมยึดติดกันด้วยกก หลังคารูปโค้งสูงมุงด้วยใบไม้หรือหญ้าแฝก ลักษณะของ
                   กระท่อมแบบนี้อาจเห็นได้จากห้องด้านในของถ้ำสุทามะ (Sudama) แถบเทือกเขาบาราบาร์

                   ซึ่งได้สลักหินเลียนแบบเครื่องไม้
                          ต่อมาผังรูปกลมได้พัฒนาไปสู่ผังรูปไข่ที่มีหลังคาคล้ายถังซึ่งสร้างจากไม้ไผ่ที่ดัดให้โค้ง

                   งอแล้วมุงด้วยใบไม้ ต่อมากระท่อมเหล่านี้อาจสร้างล้อมรอบลานรูปสี่เหลี่ยมและมีหลังคา
                   คลุมด้วยแผ่นไม้หรือกระเบื้อง สำหรับบ้านของชนชั้นสูงอาจใช้อิฐดิบก่อเป็นผนัง และอาจมี
                   การทาด้วยสีแดงจากแร่เฮมาไทท์

                          ราวช่วงกลางของ 1000 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มชนสมัยพระเวทอาจเริ่มมีระบบสังคม
                   แบบชุมชนเมือง มีความจำเป็นในการสร้างป้อมปราการและรั้วล้อมรอบ สมัยพระเวทมีความ

                   นิยมในการสร้างสิ่งก่อสร้างด้วยไม้ จนเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมไม้ ในคัมภีร์ฤคเวท กล่าวว่า
                                                                         5
                   ช่างไม้ได้รับการยกย่องให้อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าช่างฝีมืออื่นๆ


                   สมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ-ศาตวาหนะ
                          การขึ้นมามีอำนาจของราชวงศ์โมริยะในราวพุทธศตวรรษที่ 3 เป็นการเปลี่ยนแปลง

                   รูปแบบการปกครองครั้งใหญ่ของอินเดีย เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พนที่ของอินเดียส่วนใหญ่
                                                                              ื้
                   อยู่ภายใต้การปกครองเดียว คือราชวงศ์โมริยะ ซึ่งมีอำนาจการปกครองโดยเฉพาะบริเวณ
                   อินเดียเหนือทั้งหมด เราสามารถศึกษารูปแบบสิ่งก่อสร้างในสมัยนี้ได้จากหลักฐานทางด้าน



                          4  Benjamin Rowland. The Art and Architecture of India Buddhist, Hindu, Jain., p. 43.
                          5  จิรัสสา คชาชีวะ. โบราณคดีอินเดีย., หน้า 266-268.
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206