Page 198 - 006
P. 198

187


                                                                                     ิ
                   โมกุลไม่ได้สนใจในวัฒนธรรมการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะของชาวฮินดู แต่พจารณาจากความรู้
                   ความสามารถของผู้ที่ทำงานในตำแหน่งนั้นๆมากกว่า ขุนนางในรัฐบาลของโมกุลจึงประกอบไป
                   ด้วยคนหลายชาติ และหลายวรรณะ เช่น ชาวเปอร์เซีย ฮินดู และมุสลิม เป็นต้น
                          ดังนั้น ในระยะแรกๆที่โมกุลเข้ามาปกครองประเทศ แม้จะเป็นชนต่างชาติและนับถือ

                   ศาสนาอิสลาม แต่ก็ไม่มีผลร้ายแรงใดๆเกิดขึ้น แต่เมื่อในระยะหลังที่ผู้ปกครองเคร่งศาสนาและ
                   ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คน อีกทั้งการบีบบังคับให้คนนอกศาสนาอิสลามดำเนินชีวิต

                   อย่างยากลำบากขึ้น จึงก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม รูปแบบการปกครองที่กษัตริย์มีอำนาจ
                   มหาศาลเช่นนี้ จึงส่งผลเสียให้กับราชวงศ์โมกุลเอง เนื่องจากไม่มีระบบการคานอำนาจ
                   ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษากษัตริย์ก็ไม่มีอำนาจใดๆในการที่จะระงับการกระทำ

                   ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายในอนาคตเช่นนี้ได้
                          2.  สภาพเศรษฐกิจ รายได้ส่วนใหญ่ที่นำมาเลี้ยงดูรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับกองทัพ

                   และข้าราชการล้วนมาจากฝีมือของเกษตรกรทั้งสิ้น ส่วนที่เหลือมาจากการค้าทั้งในและนอก
                   ภูมิภาค อย่างไรก็ดี แม้เกษตรกรจะเป็นผู้นำให้เกิดรายได้หลักแก่รัฐบาล แต่พวกเขากลับไม่ได้
                   รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีและกลับถูกเอาเปรียบอย่างหนัก พวกเขาไม่สามารปล่อยให้ที่ดิน

                   รกร้างว่างเปล่าหรือไร้การปลูกพืชใดๆได้ เนื่องจากการถูกบังคับให้ต้องเสียภาษีที่ดิน ดังนั้น การ
                   ถูกเก็บภาษีอย่างหนักทำให้ชาวนาก่อการกบฏขึ้นมาเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าโอรัง

                   เซบ
                                                                ื่
                          ในขณะที่การค้าภายในอาณาจักรมีความเฟองฟูและทำผลกำไรให้กับผู้ค้าได้เป็นอย่างดี
                   ซึ่งรัฐก็ได้รับประโยชน์จากการเก็บภาษีในส่วนนี้ด้วย การค้าทางทะเลในมหาสมุทรอินเดียใน

                   ช่วงเวลาดังกล่าวก็มีความเจริญรุ่งเรือง เนื่องจากมีพอค้าจากชาติอื่นๆที่เป็นมุสลิมเช่นเดียวกัน
                                                                 ่
                   เป็นพันธมิตรคอยช่วยเหลือกันตามเมืองท่า ทั้งนี้ พ่อค้าจากชาติตะวันตกเริ่มมีบทบาทเด่นชัดใน

                   พุทธศตวรรษที่ 21 (คริสต์ศตวรรษที่ 16) จากการมาถึงกาลิกัต (Calicut) ของวาสโก ดา กามา
                                                   33
                   (Vasco da Gama) ในปี พ.ศ. 2041  (ค.ศ. 1498) โดยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ราชนาวีของ
                   โปรตุเกสมีความยิ่งใหญ่และเหนือกว่าผู้ใดในน่านน้ำอินเดีย แต่เมื่อเข้าสู่พทธศตวรรษที่ 22
                                                                                      ุ
                   (คริสต์ศตวรรษที่ 17) ก็ต้องหลีกทางให้กับราชนาวีของดัชต์ อังกฤษ และฝรั่งเศส ผู้เป็นเจ้าของ
                   บริษัทอินเดียตะวันออกต่างๆที่ตั้งอยู่ในอินเดีย ทั้งนี้ ทั้งดัชต์และอังกฤษให้ความสำคัญกับ

                   อินเดียเป็นอย่างมาก เนื่องจากการซื้อขายผ้าฝ้ายอินเดียในยุโรปทำกำไรมหาศาลให้กับทั้งสอง
                   ชาติ โดยนำทองและเงินที่ปล้นมาจากเสปนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า ราชวงศ์โมกุลผู้
                   ได้รับประโยชน์จึงต้อนรับพ่อค้าชาวตะวันตกมาก อย่างไรก็ตาม การเข้ามาสร้างกองกำลังทหาร

                   ของชาวยุโรปเหล่านี้ในอินเดียส่งผลเสียให้กับประเทศในเวลาต่อมา เมื่อสถานการณ์ต่างๆ
                   เปลี่ยนแปลงไปในพุทธศตวรรษที่ 24 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18)

                          อีกประการหนึ่งที่ควรกล่าวถึง คือ ภาษีส่วนใหญ่ถูกนำไปบำรุงบำเรอกองทัพและใช้เป็น
                   เงินเดือนข้าราชการ แต่กลับไม่ได้ถูกนำไปพฒนาให้คุณภาพชีวิตของชาวอินเดียดีขึ้นแต่อย่างใด
                                                         ั
                   เลย ประชาชนยังคงทุกข์ยากและแร้นแค้นเหมือนเช่นเดิมที่เคยเป็นมา




                          33  Burjor Avari. Islamic Civilization in South Asia, p. 111.
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203