Page 196 - 006
P. 196

185


                   ต่อไป จักรวรรดิโมกุลอ่อนแอลง แคว้นต่างๆเริ่มแยกตัวเป็นอิสระ ในขณะที่ราชวงศ์โมกุลเหลือ

                   อำนาจในการปกครองไม่มากนักนั่นเอง ในปีพ.ศ. 2282 (ค.ศ. 1739) กองทัพเปอร์เซียนำโดย
                   นาดีร์ ชาห์ (Nadir Shah) ได้ยกทัพเข้ามาโจมตีอินเดียและบุกมาจนถึงนครเดลี และได้ประหาร
                   ผู้คนและปล้นสะดมเอาทรัพย์สมบัติไปจากอินเดียเป็นจำนวนมาก การพ่ายแพ้ต่อนาดีร์ ชาห์ทำ

                   ให้จักรวรรดิโมกุลอ่อนกำลังลงอย่างแท้จริงจนเป็นเหตุให้อินเดียต้องตกเป็นประเทศราชของ
                   ตะวันตกในเวลาต่อมา


                   ความเสื่อมของจักรวรรดิโมกุล
                          การแตกแยกของจักรวรรดิโมกุลเริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายรัชสมัยของพระเจ้าโอรังเซบ ซึ่ง

                   แสดงให้เห็นจากการที่เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ เช่น เบงกอล อวธะ (Awadh) และไฮเดอราบัด
                   (Hyderabad) สามารถดึงอำนาจจากส่วนกลางมาอยู่ในกำมือตนได้ พร้อมๆกับที่ยังคงมี

                   ความสัมพันธ์อันดีกับบริษัทอินเดียตะวันออกทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่
                   23 หรือกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาบริษัทจากยุโรปเหล่านี้จะเริ่มมีอำนาจมากขึ้นใน
                   อินเดีย ทั้งนี้ ความเสื่อมของจักรวรรดิโมกุลมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่

                          1.  ปัจจัยภายใน  ได้แก่ ความเคร่งในศาสนาของโอรังเซบที่ทำให้เกิดความลำเอียงใน
                   การดูแลคนที่อยู่ภายใต้การปกครอง เห็นได้อย่างชัดเจนคือ พวกราชปุตซึ่งเป็นพันธมิตรที่ดีและ

                   เป็นกำลังสำคัญในสมัยพระเจ้าอักบาร์ พระองค์ก็ใช้วิธีบีบบังคับ เช่น การต้องจ่ายภาษีจิสยา
                   ก่อให้เกิดความไม่พอใจในพวกราชปุตเป็น อย่างมาก รวมไปถึงพวกซิกข์ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่สมัย
                   พระเจ้าจาหันคีร์ แต่โอรังเซบก็ไม่ได้สร้างความสมานฉันท์ระหว่างกันแต่อย่างใด กลับวางพวก

                   ซิกข์ให้เป็นศัตรูกับอิสลาม ทั้งๆที่จุดมุ่งหมายของศาสนาซิกข์คือ การสร้างความปรองดอง
                   ระหว่างมุสลิมและฮินดู นอกจากนี้ยังมีพวกมารถะที่โอรังเซบปรามปรามอยู่หลายสิบปีแต่ก็ไม่

                   ประสบความสำเร็จ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าจักรวรรดิโมกุลได้สร้างศัตรูไว้รอบด้าน อัน
                   เนื่องมาจากความไม่พยายามเข้าใจในศาสนาและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองและผู้ใต้ปกครอง
                          2.  ความกว้างใหญ่ไพศาลและความร่ำรวยในแต่ละพื้นที่ เปิดโอกาสให้ข้าหลวงผู้ดูแล

                   แคว้นแสวงหาอำนาจไว้ในมือ ดังนั้น เมื่ออำนาจส่วนกลางอ่อนแอลง แคว้นที่มีความเข้มแข็ง
                   เพียงพอก็จะแยกตัวออกไปปกครองตนเอง ทำให้ไม่เกิดความเป็นเอกภาพในจักรวรรดิเหมือน

                   สมัยต้นราชวงศ์ อีกประการหนึ่งคือ ระบบการปกครองที่จะริบทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน คืนเข้าหลวง
                   ภายหลังที่ขุนนางแต่ละคนเสียชีวิตไปแล้ว ไม่มีการสืบต่อให้กับทายาท ดังนั้น บรรดาขุนนางจึง
                   ไม่มีความรู้สึกจงรักภักดีหรือมีความผูกพันกับราชวงศ์

                          3.  การทำสงครามตลอดรัชกาลของกษัตริย์ในยุคหลังๆ โดยเฉพาะโอรังเซบ ทำให้ต้อง
                   เสียทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก เมื่อเงินในท้องพระคลังร่อยหลอจึงเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่

                   กล่าวคือ มีการเก็บภาษีกับเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ฐานะของเกษตรกรที่ลำบากอยู่แล้ว ยิ่ง
                   ลำบากมากขึ้นไปอีก ก่อให้เกิดการกบฏของชาวนาครั้งแล้วครั้งเล่า เช่น การกบฏของชาวนา
                   ชาฎ หรือการกบฏของเหล่าช่างฝีมือสัตนะมี เมื่อชนชั้นการผลิตเป็นผู้ก่อกบฏทำให้การ

                   เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการค้าได้รับผลกระทบจนเกิดความชะงักงันจนทำให้เกิดสภาวะ
                   ทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงในประเทศ
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201