Page 197 - 006
P. 197

186


                          4.  การไม่ตั้งกฎเกณฑ์ในการสืบราชบัลลังก์ เป็นเหตุให้พระโอรสทุกพระองค์ถือว่าตนมี

                   สิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์เท่าเทียมกัน เมื่อกษัตริย์องค์เก่าสิ้นพระชนม์ จึงเกิดการแย่งชิงราช
                   บัลลังก์กัน ทำให้บ้านเมืองไม่สงบสุข ขุนนางต่างๆก็ไม่ได้มีความจงรักภักดีกับผู้ปกครององค์ใด
                   เป็นพิเศษ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลถึงแก่ความเสื่อม

                          5.  ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การบุกรุกเข้ามาของกองทัพเปอร์เซีย ซึ่งทำความเสียหาย
                   ให้กับอินเดียภาคเหนือและราชวงศ์โมกุลเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นว่าการป้องกัน

                   ประเทศมีความอ่อนแอเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก กองทัพเปอร์เซียยกทัพเข้ามาทางภาคตะวันตก
                   เฉียงเหนือ แต่บริเวณชายแดนกลับไม่สามารถต่อต้านกำลังทัพของเปอร์เซียไว้ได้ แม้นาดีร์ ชาห์
                   ผู้นำทัพเปอร์เซียจะไม่ได้มีจุดประสงค์เข้ามายึดครองอินเดียอย่างถาวร แต่การปล้นทรัพย์สิน

                   อันมีค่าของอินเดียไปเป็นจำนวนมาก ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์โมกุลอ่อนแอลง
                          6.  ราชวงศ์โมกุลไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วในการขยาย

                   อิทธิพลของโลกตะวันตกตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 22 (คริสต์ศตวรรษที่ 18) เนื่องจากนโยบาย
                                    ื่
                   การมีกองทหารเพอรักษาความปลอดภัยของสถานีการค้าร่วมกันกับนโยบายการแสวงหา
                   ผลประโยชน์ของตะวันตก ทำให้ต่างชาติโดยเฉพาะอังกฤษมักเข้าไปมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์

                   ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในกลุ่มอำนาจต่างๆ ของอินเดีย เพราะการมีกองกำลังทหารและมีอาวุธที่
                                                 ื้
                   มีประสิทธิภาพ จึงทำให้กลุ่มชาวพนเมืองที่แก่งแย่งผลประโยชน์ระหว่างกันพยายามดึงอังกฤษ
                   เข้ามาเป็นพวกด้วย บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษจึงกลายเป็นกลุ่มอำนาจที่ใหญ่และ
                   มั่นคงเกินกว่าชาวอินเดียจะปราบได้ในเวลาต่อมา


                   สรุปลักษณะสำคัญของราชวงศ์โมกุล
                          1.  รูปแบบทางการปกครอง ส่วนใหญ่มาจากการวางรากฐานสมัยพระเจ้าอักบาร์ที่อยู่

                   บนหลักการที่ว่า รัฐบาลโมกุลเป็นการรวมเอาลักษณะของความเป็นอินเดียและไม่ใช่อินเดียเข้า
                   ไว้ด้วยกัน  (combination of Indian and extra-Indian elements) กษัตริย์เป็นผู้ที่มี
                             32
                   อำนาจสูงสุดและบริหารประเทศด้วยระบบราชการแบบเรียงลำดับขั้นตามการบังคับบัญชา

                   (hierarchical bureaucracy) ด้วยรูปแบบการปกครองลักษณะนี้ กษัตริย์จึงดำรงตำแหน่งผู้นำ
                   ทุกหน่วยงานของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นผู้นำฝ่ายตุลาการ บริหาร หรือนิติบัญญัติ ซึ่งการปกครอง

                   ในลักษณะนี้ในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเช่น อินเดีย กษัตริย์จะต้องมีพระทัย
                   กว้างและไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมไปถึงความเชื่อของประชาชนมาก
                   จนเกินไป ดังที่กษัตริย์ในช่วงแรกๆของราชวงศ์โมกุลปฏิบัติ ทำให้สังคมไม่เกิดความวุ่นวาย

                   เพราะถึงแม้ว่าโมกุลจะเป็นผู้ปกครองที่มีเชื้อสายชาวต่างชาติ แต่ชาวอินเดียส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชน
                   ชั้นกลางไปจนถึงชนชั้นล่างเคยชินกับการที่ถูกคนในวรรณะสูงกว่าซึ่งมีเชื้อสายเดียวกันเอา

                   เปรียบมาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้น การที่ผู้ปกครองจะเป็นคนเชื้อสายเดียวกันหรือเป็นคนต่างชาติ
                   จึงไม่มีความหมายใดๆมากนัก นอกจากนี้ ประชาชนส่วนหนึ่งกลับมีความชอบใจโดยเฉพาะผู้ที่
                   อยู่ในวรรณะต่ำเช่น ศูทร หรือจัณฑาล เนื่องจากได้มีโอกาสทำงานในตำแหน่งดีๆ เพราะรัฐบาล




                          32  R.C. Majumdar. An Advanced History of India, p. 554.
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202