Page 203 - 006
P. 203
192
หัวเสาที่มีความโดดเด่นที่ยังหลงเหลืออยู่แม้ลำตัวจะหักโค่นไปแล้วคือ หัวเสาที่สาร
นาถ (Sarnath) สลักจากหินทรายสีแดงอมชมพู ที่เรียกกันว่าหินจูนาร์ (Chunar) โดยหัวเสา
ชิ้นนี้แบ่งองค์ประกอบหลักได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนล่างสุดเป็นรูปองค์ระฆังทรงกลม ถัดขึ้นมา
ข้างบนเป็นรูปทรงกลม สลักเป็นรูปสัตว์ 4 ชนิด และวงล้ออีก 4 วงส่วนยอดสุดสลักเป็นรูป
สิงห์ลอยตัวหันหลังชนกัน หันหน้าออกไปทางทิศต่างๆ ทิศละตัว
หัวเสาจากสารนาถนี้ ธรรมจักรอันเป็นส่วนสำคัญที่สุดตั้งเด่นตระหง่านโดยมีสิงห์
เป็นส่วนค้ำจุนหรือรองรับ และล่างลงมาที่บริเวณทรงกลมยังมีการสลักธรรมจักรเล็กๆ ซ้ำอีก
ถึง 4 ชิ้น ส่วนสิงโตซึ่งเป็นเจ้าป่า ได้รับการยกย่องให้เป็นราชาหรือกษัตริย์แห่งโลกของสัตว์
หรือเจ้าแห่งสัตว์ทั้งปวงมาแต่สมัยโบราณแล้ว ในทำนองเดียวกัน พระพทธเจ้าจึงเปรียบได้
ุ
กับสิงโตท่ามกลางศาสดาหรือครูอาจารย์ทางปัญญาหรือจิตวิญญาณทั้งปวง ในขณะที่พระ
ธรรมคำสอนของพระองค์ก็แพร่กระจายไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดทั่วทั้ง 4 มุมโลก เปรียบได้กับ
8
เสียงคำรามแห่งอำนาจของพญาสิงโตที่ก้องสนั่นไปทั่วทั้งป่า
8 ปรีชา นุ่นสุข. (2540). ประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 : ศิลปะอินเดีย. นครศรีธรรมราช : ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันราชภัฎ
นครศรีธรรมราช., หน้า 82-83.