Page 202 - 006
P. 202

191


                   ศิลปกรรมที่ยังหลงเหลือรวมไปถึงจากข้อเขียนของชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในเมืองปาฏลีบุตร

                   ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์โมริยะ คือ เมกัสเธเนส (Megasthenes)
                          ทั้งนี้ ในช่วงแรกเริ่มสถาปัตยกรรมของอินเดียมักสร้างขึ้นจากไม้ จากหลักฐานที่ยัง
                                                                             ี
                   หลงเหลืออยู่บางส่วนของป้อมปราการและพระราชวังที่เมืองปาฏลบุตรพบว่า ส่วนประกอบ
                                                                                           ื้
                   หลักของป้อมปราการทำจากไม้สัก กล่าวคือ เสาไม้ที่มีความสูงราว 14-15 ฟต พนทางเดิน
                                                                                       ุ
                   รวมไปถึงหลังคาล้วนทำจากไม้ ส่วนการขุดค้นซากท้องพระโรงของพระราชวังก็พบห้องโถงที่
                   ทำในลักษณะเอาไม้ซุงมาต่อเป็นท่อนๆ (log cabin) โดยใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ การ
                   ก่อสร้างพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรได้รับแรงบันดาลใจจากราชวงศ์อาคีมีนิด รวมไปถึงกลุ่ม
                                                       ั
                   ของอาคารภายในกำแพงเมืองก็สัมพนธ์กันกับกลุ่มพระราชวังที่เมืองเปอเซโปลิส
                   (Persepolis) ของพระเจ้าดาริอุส (Darius) แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลวัฒนธรรมเปอร์เซียใน
                   อินเดียดังที่กล่าวไว้แล้วในบทที่ 6

                          ล่วงมาจนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นผู้ที่นับถือและสนับสนุน
                   พระพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในสมัยพระเจ้าอโศก ได้แก่ เสาหิน สถูป และศาสน
                   สถานที่ขุดเจาะหินเข้าไปเป็นถ้ำ


                          เสาหิน

                          เสาหินหรือเสาพระเจ้าอโศก (Asoka’s Pillar) ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมี
                   ประมาณ 30 ต้น เป็นเสาหินที่สกัดจากหินแท่งเดียว กลม ผิวขัดเป็นเงาไม่มีฐาน สูงประมาณ
                   12-14 เมตร ใช้ปักตั้งลงในดิน หัวเสาสลักเป็นรูปสัตว์ 4 ชนิดบนฐานดอกบัว ส่วนล่างของ

                                                                                         ึ
                   เสามักมีจารึกแสดงถึงหลักธรรมคำสั่งสอนเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา และข้อพงปฏิบัติตน
                   สำหรับประชาชนทั่วไปจะนำไปใช้ได้ เสาหินดังกล่าวมักสร้างขึ้นตามสถานที่ที่มีความสัมพันธ์

                   กับเหตุการณ์ในพุทธประวัติ หรือบนเส้นทางที่นักจาริกแสวงบุญนิยมใช้เดินทางไปยังสถานที่
                                   ุ
                   ศักดิ์สิทธิ์ในพระพทธศาสนา ตัวอย่างเสาซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่เลารยะ นันทันคร
                   หะ (Laurya Nandangarh) ในรัฐพิหาร ใกล้กับเขตแดนของประเทศเนปาล ซึ่งการสร้างเสา

                   แบบนี้ไม่ใช่ลักษณะของศิลปกรรมอินเดีย เป็นการรับอิทธิพลจากต่างชาติ คือ เปอร์เซีย
                          นอกจากจารึกหลักธรรมที่ปรากฏอยู่ที่ลำตัวของเสาแล้ว สิ่งสำคัญของเสาพระเจ้า

                   อโศกคือ หัวเสา โดยหัวเสานั้นจะเป็นประติมากรรมที่เป็นสัญลักษณ์ทางพระพทธศาสนา
                                                                                          ุ
                   เช่น ธรรมจักรหรือรูปสัตว์ เช่น วัว สิงโต ช้างและม้า สิงโตหมายถึงอำนาจ พระธรรมคำสอน
                   ที่แพร่ไป ประหนึ่งการเปล่งเสียงของสีหนาท ม้าหมายถึงความรวดเร็ว เป็นพาหนะที่

                        ุ
                   พระพทธเจ้าใช้ในการเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ช้าง หมายถึงปัญญา เป็นสัญลักษณ์ของ
                   พระนางสิริมหามายา พระมารดาทรงสุบินถึงช้างเผือก และวัว หมายถึงพละกำลัง เป็นสัตว์

                   ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินเดียทุกศาสนา  ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาแล้ว สัตว์
                                                  6
                   ดังกล่าวยังเป็นสัญลักษณ์ของทิศทั้ง 4 แห่งจักรวาลอีกด้วย ได้แก่ ช้างเป็นผู้รักษาทิศ
                                                                                             7
                   ตะวันออก ม้าเป็นผู้รักษาทิศใต้ วัวผู้รักษาทิศตะวันตก และสิงโตเป็นผู้รักษาทิศเหนือ


                          6  กำจร สุนพงษ์ศรี. (2553). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 82.
                          7  Brown Percy. Indian Architecture (Buddhist and Hindu Periods)., p. 31.
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207