Page 206 - 006
P. 206
195
สถูป
สถูปมาจากคำบาลีว่าถูปะ หรือมูลดินที่เกิดจากการเผาศพแล้วรวบรวมเถ้าถ่านเป็น
กองไว้แล้วเอาดินเอาหินมาทับไว้เป็นเนินสูงเป็นเครื่องหมายให้เห็นชัด ล่วงมาจนถึงสมัย
9
ุ
ุ
พทธกาล การสร้างสถูปในพระพทธศาสนามีจุดประสงค์เพอบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและ
ื่
ุ
อังคารของพระพทธองค์ รวมไปถึงพระธาตุของพระอรหันต์ และบรรดาสาวกของพระบรม
ศาสดาอีกไม่น้อย ซึ่งนอกจากสถูปของบุคคลแล้ว ยังมีสถูปที่สร้างสำหรับบรรจุเครื่องอัฏฐ
บริขารของพระพุทธเจ้า มีจำพวกบาตร จีวร และสิ่งอื่นๆอีก
พทธเจดีย์ในศาสนาพทธแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ 1) (สารีริก) ธาตุเจดีย์ สำหรับ
ุ
ุ
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพทธเจ้า แต่เดิมมีด้วยกัน 8 แห่ง ภายหลังพระเจ้าอโศก
ุ
ทรงรวบรวมจาก 7 แห่งที่ชำรุด แล้วแจกจ่ายไปยังดินแดนต่างๆที่นับถือพระพทธศาสนา
ุ
กล่าวกันว่ามีการก่อสร้างเจดีย์ประเภทนี้ถึง 84,000 แห่ง
ุ
2) บริโภคเจดีย์ คือ สถานที่ที่พระพทธเจ้าอนุญาตให้ใช้เป็นที่ระลึกเมื่อพระองค์
ปรินิพพานแล้ว3) อุเทสิกะเจดีย์ คือ สิ่งที่สร้างขึ้นด้วยเจตนาอุทิศแด่พระพุทธเจ้า เป็นต้นว่า
ุ
ุ
์
พระพทธรูป รอยพระพทธบาทจำลอง ธรรมจักร และพระพมพ 4) ธรรมเจดีย์ คือ
ิ
สิ่งก่อสร้างที่บรรจุพระธรรมคำสอนของพระพทธเจ้า เช่น การนำพระธรรมจารจารึกลงบน
ุ
แผ่นเงิน แผ่นทอง ศิลา และพระพิมพซึ่งมักจารึกหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่า คาถา
์
10
“เย ธฺมมาฯ”
ลักษณะและส่วนประกอบของสถูป
สถูปมีลักษณะเป็นรูปโดมหรือโอคว่ำ โดยวัสดุที่ใช้มีทั้งแบบอิฐและหิน มี
11
ส่วนประกอบของสถูปดังต่อไปนี้
1. เมธิ (Medhi) ฐานสถูปมีลักษณะกลมหรือสี่เหลี่ยม
2. เวทิกะ (Vedika) รั้ว ทำด้วยไม้หรือหิน ลักษณะของรั้วเป็นรูปแบบดั้งเดิมของ
พวกอารยันซึ่งนิยมสร้างรั้วล้อมรอบต้นไม้หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เวทิกะนี้จะมีทางเข้าอยู่ 4
ด้านตามทิศทั้ง 4 ซึ่งบางครั้งมีการสร้างประตูทางเข้า (Torana) อย่างสวยงามบนแนวรั้วมี
ภาพสลักซึ่งมักอยู่ในวงกลม แสดงภาพเล่าเรื่องพทธประวัติหรือชาดก รวมถึงการบูชา
ุ
พระพุทธเจ้าที่อยู่ในรูปสัญลักษณ์ เช่น บัลลังก์ที่ว่างเปล่า เป็นต้น
3. ขั้นบันได (Sopana)
4. องค์ระฆังหรืออัณฑะ (Anda) รูปโดมหรือครึ่งวงกลม
5. บัลลังก์ (Harmika) รูปแบบดั้งเดิมอาจนำมาจากแท่นบูชาพระเวทที่มีรั้วสี่เหลี่ยม
กั้นโดยรอบเพอกำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์ หรือนำมาจากรั้วกั้นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์หรือต้นโพธิ์ เพอ
ื่
ื่
สถูปเป็นดั่งเขาพระสุเมรุ บัลลังก์หรือหรรมิกาจึงเปรียบเสมือนแท่นบูชาเทพเจ้าบนเขาพระ
สุเมรุ
9 น. ณ ปากน้ำ. (2529). ความเป็นมาของสถูปเจดีย์ในสยามประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์พลชัย, หน้า 2.
10 “เย ธมฺม เหตุปฺปภวา เตสํ ตถาคโต (อาห) เตลัญฺจโย นิโรโธจ เอวํ วาที มหาสมโณ” แปลว่า ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดน
เกิด (เกิดแต่เหตุ) พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอน
อย่างนี้
11 จิรัสสา คชาชีวะ. โบราณคดีอินเดีย, หน้า 347.