Page 199 - 006
P. 199
188
3. สังคมและศาสนา ชาวอินเดียมองศาสนาอิสลามในฐานะลัทธิความคิดหนึ่งที่เข้ามา
เผยแพร่คำสอนเช่นเดียวกันกับคำสอนต่างๆที่มีอยู่ทั่วไปในอินเดีย ดังนั้น จึงไม่ได้รังเกียจหรือ
ต่อต้านใดๆ แต่ผู้ปกครองชาวต่างชาติเช่นโมกุล กลับทำให้ศาสนาอิสลามแปลกแยกจากศาสนา
อื่นๆ เนื่องจากการนำเอาหลักศาสนาอิสลามมาใช้ในการปกครอง ในขณะที่กษัตริย์บางพระองค์
กลับมีพระทัยกว้างและเข้าใจในวัฒนธรรมการนับถือศาสนาของชาวอินเดีย เช่น อักบาร์
อย่างไรก็ตาม แม้ในสมัยของอักบาร์จะมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาแต่เราสามารถมองเห็น
ความขัดแย้งระหว่างมุสลิมกับฮินดูได้ดีจากความพยายามก่อตั้งลัทธิความเชื่อใหม่ที่ผสมผสาน
ความเชื่อของศาสนาอิสลามและศาสนาฮินดู นั่นคือ ศาสนาซิกข์ เพราะจุดมุ่งหมายหนึ่งของการ
สร้างศาสนาใหม่นี้เพราะไม่ต้องการเห็นการแบ่งแยกกันระหว่างฮินดูและอิสลาม
ในช่วงปลายราชวงศ์โมกุล ผู้ปกครองเคร่งครัดในอิสลาม นิกายสุหนี่เป็นอย่างมาก จน
ความเมตตาต่อผู้นอกศาสนาหายไป ดังนั้น จึงเกิดการบีบบังคับประชาชนที่นับถือศาสนาอื่น
ด้วยข้อกฎหมายบางประการเช่น การเก็บภาษีจิซยา หรือการไม่อนุญาตให้มีการสร้างศาสน
สถานใหม่ๆที่ไม่ใช่ของอิสลาม เป็นต้น การกระทำเช่นนี้ทำให้คนอินเดียมีความรู้สึกว่าตนเป็น
บุคคลชั้น 2 ในแผ่นดินเกิดของตนเอง จึงก่อให้เกิดกระแสความไม่พอใจในสังคมอยู่เนืองๆ