Page 200 - 006
P. 200
189
บทที่ 12
ศิลปะอินเดีย
(สถาปัตยกรรม)
งานศิลปกรรมทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ใน
ปัจจุบันมักเกี่ยวเนื่องกับศาสนาทั้งสิ้น มีความเป็นไปได้ว่านอกเหนือจากงานศิลปกรรมเพื่อ
ศาสนาแล้ว ชนชาวอินเดียได้สร้างสรรค์งานศิลปะในบ้านเรือนของตนเองด้วย แต่วัสดุในการ
ทำที่อยู่ของชาวอินเดียตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นมักทำมาจากไม้และดินโคลน ดังนั้น
มันจึงไม่คงทนและถูกนำกลับมาใช้ใหม่จนไม่หลงเหลือเค้าเดิมอีกต่อไป
ในส่วนของงานสถาปัตยกรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไม่หลงเหลือให้เห็นอีกต่อไป
เนื่องจากวิถีชีวิตที่มีการเคลื่อนย้ายและวัสดุที่นำมาใช้มักเป็นอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายได้ง่าย
โดยหลักฐานที่ยังเหลือให้เห็นเด่นชัดคือสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมฮารัปปาหรืออารยธรรม
ลุ่มแม่น้ำสินธุ กำหนดอายุได้ราว 3000 – 2000 ปีก่อนคริสตกาล
วัฒนธรรมฮารัปปา /อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
สถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมฮารัปปาไม่ได้แสดงออกเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อ
โดยตรง แต่เป็นสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินชีวิตของผู้คนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น
ที่อยู่อาศัย ตลาด ยุ้งฉาง และสระอาบน้ำ สร้างจากอิฐเผาไฟ อาคารมักมีหลายชั้น ใช้การขึ้น
ลงด้วยบันได ชั้นบนมักเป็นไม้ หลังคาเรียบ โดยทำเป็นคานไม้ขนาดใหญ่คลุมด้วยแผ่นไม้
และปิดทับด้วยดินโคลน แม้สิ่งก่อสร้างต่างๆจะมีแต่ความเรียบง่ายและขาดความงามด้าน
1
ศิลปะ แต่กลับอุดมไปด้วยวัตถุดิบคุณภาพดี มาตรฐานการทำที่สูง และความสามารถในการ
นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ไม่ปรากฏ
2
3
สิ่งก่อสร้างใดที่เป็นวัด โบสถ์ หรือศาสนสถานเลย
สมัยพระเวทหรือก่อนราชวงศ์โมริยะ
เมื่อเข้าสู่สมัยพระเวท อันเป็นสมัยที่ชาวอารยันเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศอินเดีย
แล้วนั้น กำหนดอายุได้ราว 1500 – 1000 ปีก่อนคริสตกาล หรือราว 3500 – 3000 ปี
มาแล้ว วิถีชีวิตของชาวอารยันยังอยู่ในรูปแบบสังคมชนบท ซึ่งแตกต่างจากสังคมเมืองของ
ชาวฮารัปปา กล่าวคือ มีการดำรงชีวิตด้วยการทำเกษตรกรรมและทำปศุสัตว์ และมักอยู่
อาศัยบริเวณพื้นที่ราบและชายป่า วัสดุที่ใช้ทำสิ่งก่อสร้างเพอการอยู่อาศัยจึงมักเป็นไม้ ไม้ไผ่
ื่
1 Percy Brown. (1965). Indian Architecture (Buddhist and Hindu Periods). Bombay : K.L.Bhargava & Co., p.
1.
2 Shanti Swarup. (1957). The Arts and Crafts of India and Pakistan. Bombay : D.B. Taraporevala Sons &
Co. Private LTD., p. 45.
3 Benjamin Rowland. (1984). The Art and Architecture of India Buddhist, Hindu, Jain. USA: Kingsport
Press, p. 33.