Page 194 - 006
P. 194
183
เจ้าอักบาร์ จนในที่สุดพระองค์ก็สามารถควบคุมดินแดนทางภาคเหนือได้เป็นผลสำเร็จในปีพ.ศ.
2221
เมื่อประสบความสำเร็จในการขยายดินแดนทางภาคเหนือแล้ว พระองค์จึงเริ่มให้ความ
สนใจกับพนที่ทางภาคใต้ จนสามารถแผ่ขยายอำนาจไปได้กว้างขวางจนถึงอินเดียใต้ไกลและ
ื้
ดินแดนของพวกมารถะ โอรังเซบใช้เวลากว่า 25 ปีในการปราบปรามพวกมารถะแต่ก็ไม่ประสบ
ความสำเร็จ ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการทำสงครามไปเป็นจำนวนมาก อาจกล่าวได้ว่า ในการทำ
สงครามกับพวกมารถะนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์โมกุลอ่อนแอลงนอกเหนือจากปัจจัย
อื่นๆดังจะกล่าวถึงต่อไป
โอรังเซบมีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเช่นเดียวกับชาห์ จาฮานผู้เป็นพระบิดากล่าวคือ
ื่
อาณาจักรโมกุลจะต้องเป็นรัฐมุสลิมที่ปกครองโดยใช้ชะรีอะฮ์ ซึ่งเป็นกฎหมายของอิสลาม เพอ
ประโยชน์ของประชาคมชาวมุสลิมในอินเดีย ดังนั้นจึงทรงกดขี่คนนอกศาสนา โดยเฉพาะชาว
ฮินดู ทรงขับไล่พวกขุนนาง ข้าราชการ และศิลปินที่เป็นชาวฮินดูออกจากราชสำนัก พร้อมๆกัน
นั้นก็ทรงรื้อฟนการเก็บภาษีจิสยา (Jizya) หรือเซซิยา (Zeziya) ซึ่งเป็นภาษีที่เรียกเก็บจาก
ื้
บุคคลที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม พระราชกฤษฎีกาของพระองค์ที่ออกมาในพ.ศ. 2212 (ค.ศ.
1669) ได้ออกคำสั่งให้ศาสนสถานที่ไม่อยู่ในชะรีอะฮ์ (หรือไม่ใช่ของศาสนาอิสลามนั่นเอง) ที่เพิ่ง
27
สร้างหรือกำลังซ่อมแซมต้องโดนทำลายทิ้ง พระองค์ยังทรงขยายการศึกษาศาสนาอิสลามให้
แพร่หลาย นักวิชาการและนักศึกษาเริ่มเข้ามามีบทบาทและได้รับการอุปถัมภ์จากพระองค์ มี
28
การตั้งหลักสูตรการศึกษาของมุสลิม สร้างโรงเรียนพร้อมกับตำราเรียนตามหลักสูตร
ในขณะที่ในเรื่องเศรษฐกิจของจักรวรรดินั้นรายได้ที่สำคัญมาจากภาษีซึ่งประกอบไป
ด้วยภาษีจากผลผลิตทางการเกษตรและภาษีจากการค้าขาย ส่วนการค้าขายกับต่างประเทศใน
ยุคนี้มีการเติบโตมากขึ้นจากการที่มีชนชาติต่างๆเข้ามาสลับสับเปลี่ยนกับโปรตุเกสที่เริ่มหมด
อำนาจลง โดยบริษัทที่มีอำนาจมากที่สุดในยุคนี้คือบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
หรือ VOC และบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกเหล่านี้เป็นผู้
ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในราชวงศ์โมกุลไปยังยุโรป เช่น คราม (indigo) อันเป็นสินค้าออกที่
29
สำคัญมากเนื่องจากมีราคาย่อมเยากว่าเมื่อเทียบกับต้นโวด (woad) หรือเส้นไหมดิบที่ถูก
นำไปใช้ในอุตสาหกรรมการทอผ้าไหมในอิตาลีและฝรั่งเศส รวมไปถึงดินประสิว (saltpeter) ที่
ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธในยุโรป อีกทั้งยังนำมาเป็นเครื่องถ่วงเรือเมื่อเดินทางกลับยุโรป
อีกด้วย
30
27 Sri Ram Sharma. (1962). The Religious Policy of the Mughal Emperors. London: Asia Publishing House,
pp. 130-131.
28 จันทรา บูรณฤกษ์. (2521). อิทธิพลวัฒนธรรมอิสลามในอินเดีย. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
หน้า 241.
29 ต้นโวด (woad) เป็นต้นไม้ในยุโรปนำเอาใบมาสกัดเป็นสีน้ำเงินได้
30 Richards, J.F. The Mughal Empire, The New Cambridge History of India, pp. 196-197.