Page 28 - 0018
P. 28
20
2.6.3 การพิจารณาความยากจนรายพื้นที่ หรือสัดส่วนคนจน นอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนสูงกวาในเขต
่
เทศบาล
พบว่า สัดส่วนคนจนนอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนสูงกว่าในเขตเทศบาล โดยนอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนคนจน
ร้อยละ 8.55 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.07 ในปี 2562 ขณะที่ ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนคนจนร้อยละ 5.44 เพมขึ้นจาก
ิ่
ร้อยละ 4.69 ในปี 2562 โดยสาเหตุของความยากจนในพื้นที่นอกเขตเทศบาลมีลักษณะของปัญหาเช่นเดียวกับ
ความยากจนในระดับภูมิภาค ซึ่งโครงสร้างอาชีพที่คนนอกเขตเทศบาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้าง
ทั่วไป และเป็นลูกจ้าง ทำให้รายได้มีความไม่แน่นอน และขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ราคาผลผลิต ภัย
ธรรมชาติ และสภาพอากาศ รวมทั้งยังขาดการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพ ทั้ง
สถานพยาบาล การศึกษา และอื่น ๆ ยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตเทศบาลเป็นหลัก
เมื่อพิจารณาปัญหาความยากจนในภาคใต้ พบว่า มีปัญหารุนแรงขึ้นจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) รวมถึงเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 อันดับแรกในปี 2563 อีกทั้งจังหวัด
ปัตตานีติดอันดับ 10 จังหวัด ที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุด หรือมีความยากจนหนาแน่นสูงที่สุดในช่วงปี 2543-2563
ภาพ
ที่ 2-7 สัดส่วนคนจนจำแนกเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ปี 2531 – 2563
ที่มา : ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือน ประมวลผลโดยกองพัฒนาข้อมูลและตัวชร้วัดสังคม สศช.
2.6.4 ลักษณะทางประชากรของครัวเรือนยากจน และคนยากจน คนจนมีอัตราการพึ่งพิงสูงขึ้น คือ
วัยแรงงานในครัวเรือนยากจนจะต้องรับภาระในการดูแลกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ ความยากจนในกลุ่มเปราะบาง
(กลุ่มผู้ที่มีความพิการทั้งความพิการทางสมองและพิการทางร่างกาย) ความลำบากในด้านความเป็นอยู่ ทำให้
ต้องการการช่วยเหลือพิเศษมากกว่าคนยากจนทั่ว ๆ ไป
เมื่อพิจารณาขนาดของครัวเรือน พบว่า สัดส่วนคนจนในทุกขนาดครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562
โดยครัวเรือนขนาดใหญ่มีสมาชิกมากกว่า 7 คนจะมีปัญหาความยากจนมากกว่าครัวเรือนที่มีขนาดเล็กมีสมาชิก
2-3 คน สำหรับครัวเรือนแหว่งกลาง (ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับเด็ก มีสัดส่วนคนจน กล่าวคือ ประมาณ 1 ใน 5 ของ