Page 29 - 0018
P. 29

21


               ครัวเรือนแหว่งกลาง จะเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีความยากจน เนื่องจากการอยู่อาศัยดังกล่าวขาดวัยแรงานที่เป็น

               แหล่งรายได้สำคัญของครัวเรือน

                       2.6.5 สภาพเศรษฐกิจของคนจน

                       เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายของครัวเรือนยากจนในปี 2563 พบว่า ครัวเรือนยากจนมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นเฉลี่ย

               ต่อเดือนอยู่ที่ 9,183 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน และมีค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้สินเฉลี่ย 1,275 บาทต่อเดือน รวม
               เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด 10,458 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีรายจ่ายรวม 9,679 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน
               แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค 8,382 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน และค่าใช้จ่ายเพื่อการชำระหนี้ 1.297
               บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน พบว่าหนี้สินส่วนใหญ่เป็นการจ่ายชำระจากการกู้ยืมเพื่อทำการเกษตรร้อยละ 42

               รองลงมาเป็นการกู้ยืมเพื่ออุปโภคบริโภคในครัวเรือนร้อยละ 40 สะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรยากจนของประเทศ
               ไทยต้องกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ นอกจากนี้ หนี้สินเพื่อการอุปโภคบริโภคยังสะท้อนให้เห็นว่าคนจนมีรายได้ไม่
               เพียงพอต่อการบริโภค จึงต้องกู้ยืมเพื่ออุปโภคบริโภคในครัวเรือนในสัดส่วนที่สูง และหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่
               ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ของครัวเรือนได้ และที่สำคัญคนจนในสาขาเกษตรกรรมยังคง

                                                                           ิ่
               เป็นสาขาอาชีพที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุดต่อเนื่องยาวนานและมีแนวโน้มเพมมากขึ้น

                       2.6.6 คนจนกับการศึกษา

                       คนจนส่วนใหญ่มีการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ในปี 2563 พบว่าในกลุ่มระดับการศึกษา
               ต่ำ จะมีสัดส่วนคนจนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการศึกษาสูง โดยประชากรที่ไม่เคยเรียนหนังสือเลย  มีสัดส่วนคนจน
               ที่ร้อยละ 16.38 รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ร้อยละ 1 1.62 และระดับประถมศึกษา
               ร้อยละ 9.35 ในขณะที่ในกลุ่มผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าอุดมศึกษา มีสัดส่วนคนจนต่ำกว่าร้อยละ 1 ซึ่งข้อมูล
               ดังกล่าวนี้สนับสนุนแนวคิดว่าการส่งเสริมให้คนจนเข้าถึงโอกาสด้านการศึกษา เป็นแนวทางสำคัญในการขจัดความ

               ยากจนของประเทศ เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยด้านการศึกษาแต่ละประเภทเฉพาะในกลุ่มเด็กยากจนพบว่า
               แม้จะมีนโยบายในการจัดการศึกษาฟรีจนถึงระดับมัธยมปลาย แต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับด้านการศึกษาอยู่
               จำนวนมาก เด็กยากจนที่เรียนในระดับประถมศึกษามีค่าใช้จ่ายรวม 4,744 บาท มัธยมต้น 6,014บาท มัธยมศึกษา

               ตอนปลาย 7,607 บาท โดยเป็นสัดส่วนค่าจ่ายด้านการเดินทางไปเรียนสูงที่สุดกว่าร้อยละ 40ขึ้นไปของรายจ่าย
               ด้านการศึกษาทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าเครื่องแบบ และค่าอุปกรณ์การเรียน สะท้อนว่ากลุ่ม
               ครัวเรือนยากจนที่มีเด็กจำเป็นต้องรับภาระด้านการเดินทางสูงที่สุด จากการที่ครัวเรือนยากจนจำนวนมากอยู่
               อาศัยในพื้นที่ห่างไกล

                       สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป พบว่าสัดส่วนคนจนที่เข้าถึงระดับอุดมศึกษามีน้อย เนื่องจาก
               ค่าใช้จ่ายในการเรียนค่อนข้างสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 15,015 บาท  ค่าเล่าเรียนคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 62.48

               ของค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าค่าเล่าเรียนหรือค่าเทอมที่สูงมากขึ้นในระดับอุดมศึกษา
               เป็นอุปสรรคสำคัญที่กีดกันการเข้าถึงระบบการศึกษาขั้นสูงของครัวเรือนยากจนได้ ดังนั้น การเข้าถึงการศึกษาใน
               ระดับที่สูงกว่าระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนจนเป็นไปได้ยาก
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34