Page 24 - 0018
P. 24
16
ภาพที่ 2-4 ขั้นตอนการดำเนินงานของ PDCA Six Sigma และ KM เทียบกับ PDCA
ที่มา : สุธาสินี โพธิ์จันทร์., 2558
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือพื้นฐาน หรือเครื่องมือระดับสูง ที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้เกิดการ
ยกระดับ คุณภาพ ปรับปรุงและพัฒนาต่อยอด ล้วนจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินงานอย่างครบถ้วน ตั้งแต่การ
วางแผน การปฏิบัติการตรวจสอบ และการทำให้เป็นมาตรฐานทั้งสิ้น เหตุผลก็เพราะจะทำให้การดำเนินงานเป็นไป
อย่างมีระบบถูกทิศทาง และหากพบปัญหา หรืออุปสรรคระหว่างทาง ก็จะรู้ตัวได้ก่อน สามารถปรับแก้และหาทาง
รับมือได้ทัน เพื่อให้สามารถ บรรลุเป้าหมายได้ตามต้องการและเป็นพื้นฐานที่ดีของการต่อยอดการปรับปรุง
การดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนดจะเป็นแนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ และบรรลุ
เป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หรือการปฏิบัติงาน ทฤษฎี PDCA จะถูกนำมาใช้เพื่อให้
การดำเนินงานเป็นระบบและครบถ้วน โดยมีการวางแผน กาปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงการ
ดำเนินการอย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้งานบริการวิชาการด้านทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน มีความ
สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน จากกระบวนการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ตำบล
บ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เป็นไปตามแนวคิด PDCA คือ โดยการศึกษาและวิเคราะห์ทุน 5 ด้าน
ของคนจนในพื้นที่และปัญหา ความต้องการ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงาน จากนั้นดำเนินการ
ตามแผนงานที่วางไว้ โดยแบ่งระยะของงานพัฒนาการเรียนรู้ทักษะอาชีพออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะ
กลาง ระยะยาว มีการตรวจสอบติดตามและประเมินผลในระยะสั้นเพื่อให้สามารถปรับแผนการดำเนินงานให้
สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดคือการดำเนินงานอย่างครบถ้วนตามแนวคิดของวงจร PDCA
ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการอธิบายขั้นตอนการดำเนินงานของกระบวนการงานบริการวิชาการด้านทักษะอาชีพ ใน
การแก้ไขปัญหาความยากจน พื้นที่บ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี