Page 26 - 0018
P. 26

18


                       (วนิดา ฉัตรวิราคม 2554), อ้างถึงใน เสมอมาศ ลิ้มจำเริญ 2558) กล่าวถึงทฤษฎีระบบว่า เป็นทฤษฎีที่มี
               ความสัมพันธ์ร่วมกันส่วนย่อยของระบบมีความสัมพันธ์กับส่วนใหญ่ของระบบ มีพื้นฐานความซับซ้อน ซึ่งแตกต่าง

               จากวิธีคิดแบบเส้นตรงที่พิจารณาว่า ผลเกิดขึ้นจากเหตุใดเหตุหนึ่งเพียงเท่านั้น
                       (Schoech 2004 : 1-5), อ้างถึงใน เสมอมาศ ลิ้มจำเริญ 2558) ได้ให้ความหมายของคำว่า ระบบ
               หมายถึง เป็นองค์ประกอบที่ปฏิสัมพันธ์ลักษณะของระบบคือ มีลักษณะที่สามารถทำให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานได้
               เนื่องจากระบบเป็นไปตามกฏพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นระบบโซลาร์เซลล์ ระบบทางชีววิทยา ระบบภูมิคุ้มกันภายใน

               ร่างกาย หรือ แม้แต่ระบบภายในองค์กร องค์ประกอบภายในระบบมีความเชื่อมโยงเครอข่าย ภายในระบบอาจจะ
               มีระบบย่อยประกอบกันอยู่ได้ ระบบทุกระบบประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า (input)
               2) กระบวนการ (Process) และ 3) ผลผลิต (output) ซึ่งการระบุและศึกษาความเชื่อมโยงของทั้งสาม
               องค์ประกอบจะช่วยให้สามารถเข้าใจและเรียนรู้การทำงานของระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของระบบได้ โดย

               เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของทุกระบบคือ การอยู่รอด นอกเหนือไปจากนี้ Schoech (2004) ยังได้วิเคราะห์ถึง
               องค์ประกอบภายในระบบองค์กรด้านการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และเกณฑ   ์
               ซึ่งรวมถึงผลสะท้อนกลับ ซึ่งจะเป็นแนวทางการควบคุมและปรับปรุงแต่ละองค์กรประกอบภายในระบบให้มี
               ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


                       จากทฤษฎีระบบนั้น จึงนำมาสู่การดำเนินงานบริการวิชาการด้านทักษะอาชีพ ในการแก้ไขความยากจน
               ซึ่งปัจจัยนำเข้าที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนงานคือ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) บุคคล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติการ

               กลุ่มผู้นำชุมชน ประชาชนกลุ่มป้าหมาย (คนจน) ปัญหาและความต้องการของกลุ่มคนจนในพื้นที่ ในด้านอาชีพ ซึ่ง
               แบ่งออกเป็นอาชีพเก่า และอาชีพใหม่ นำไปสู่กระบวนการของงานบริการวิชาการด้านทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไข

                                                                                                         ั
               ปัญหาความยากจน ใช้กระบวนการแปรสภาพเพอเปลี่ยนปัจจัยนำเข้าไปเป็นผลผลิต อาทิเช่น แนวทางการพฒนา
                                                       ื่
               ทักษะอาชีพ 6 อาชีพ โดยแบ่งตามกลุ่มการพัฒนาทักษะอาชีพออเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มพัฒนาทักษะอาชีพ
               การเกษตร ได้แก่ อาชีพปลูกผัก อาชีพทำนา-ฟื้นฟูนาร้าง อาชีพเลี้ยงนกกระทา และอาชีพเลี้ยงปลาสลิดดอนนา 2)
               กลุ่มพัฒนาทักษะอาชีพการทำอาหาร-ขนมพื้นบ้าน 3) กลุ่มพัฒนาทักษะด้านฝีมือ ได้แก่ อาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า
               ซึ่งในขณะเดียวกันกลไกในระบบก็จะขึ้นกับการนำข้อมูลย้อนกลับ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม

               โครงการฯ และผลการดำเนินการในแต่ละตัวชี้วัด ไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์ และ
               ปรับปรุงปัจจัยนำเข้าเพื่อผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป


               2.6 สถานการณ์ความยากจน ปี 2563
                       2.5.1 ภาพรวมสถานการณ์

                              ในปี 2563 มีคนจนจำนวน 4.8 ล้านคน เพิ่มจาก 4.3 ล้านคนในปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการ
               แพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัวลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.3
               ของปีก่อนหน้า รวมถึงส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในวงกว้าง โดยในปี 2563 มีจำนวนผู้ว่างงาน จำนวน 6.51
               แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.69 เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีผู้ว่างงานจำนวน 3.73 แสนคน หรือคิดเป็น
               อัตราการว่างงานที่ร้อยละ 0.98 ภาพรวมครัวเรือนทั้งประเทศมีความเปราะบางเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ปี 2563

               ครัวเรือนมีความสามารถในการหารายได้ลดลง หนี้สินครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้นมาก และเงินออมในกลุ่มผู้มีรายได้
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31