Page 22 - 0018
P. 22
14
การศึกษาและอาชีพความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตลอดจนการกระทำอื่นในชีวิตประจำวัน ความสนใจเป็นความรู้สึก
ึ
ที่เกิดจากการรับรู้สิ่งเร้าและเอาใจใส่ต่อสิ่งเร้านั้นอย่างต่อเนื่อง เกิดการตอบสนองอย่างเต็มใจและเกิดความพง
พอใจ ดังนั้นการเร้าให้จิตใจตอบสนองจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสนใจและความสนใจจะมีมากหรือน้อยคง
อยู่นานเพียงใด ขึ้นอยู่กับสภาวะของจิตใจหรือความรู้สึก นอกจากนี้ความสนใจยังเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำ
ให้เกิดแรงจูงใจในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ทั้งในด้านการเรียนหรือการทำงาน ความสนใจเป็นความรู้สึกที่บุคคลมีต่อ
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่การที่จะระบุลงไปว่าบุคคลหนึ่ง ๆ มีความสนใจในสิ่งใดนั้นต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ
เสียก่อน การวัดทักษะด้านอาชีพในงานวิจัยนี้จะเริ่มต้นจากการวัดความสนใจในอาชีพ ได้แก่ ความรู้สึกของ
บุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่าสิ่งอื่น ๆ ซึ่งจะกระตุ้นให้บุคคลทำกิจกรรมหรือแสวงหาความรู้ในสิ่งใด ๆ ที่เขา
ชอบหรือพอใจอย่างตั้งใจและพากเพียรที่จะกระทำกิจกรรมนั้นอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งความสนใจอาจมีได้ชั่วขณะหรือคงอยู่
ถาวรก็ได้ขึ้นอยู่กับความอยากรู้อยากเห็นและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
วิธีการวัดความสนใจด้านอาชีพ 4 ประการดังนี้
1. สังเกตความเป็นไปของแต่ละบุคคล
2. พิจารณาความสนใจต่างๆที่แต่ละบุคคลแสดงออกมา
3. ศึกษากิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลนั้นกระทำ
4. ใช้แบบสำรวจความสนใจ (Interest Inventory) วัดโดยตรง
สรุปได้ว่า การวัดความสนใจด้านอาชีพก่อน ซึ่งความสนใจ (Interest) มีความสำคัญต่อบุคคล
ซึ่งมีผลต่อการปรับตัวทางการศึกษาและอาชีพความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตลอดจนการกระทำอื่นในชีวิตประจำวัน
เพื่อให้ตอบสนองอย่างเต็มใจและเกิดความพึงพอใจ การเร้าให้จิตใจตอบสนองจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความ
สนใจและความสนใจจะมีมากหรือน้อยคงอยู่นานเพียงใด ขึ้นอยู่กับสภาวะของจิตใจหรือความรู้สึก อีกทั้งความ
สนใจยังเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ทั้งในด้านการเรียนหรือการทำอาชีพ
การวัดทักษะด้านอาชีพโดยจะเริ่มต้นจากการวัดความสนใจในอาชีพ ได้แก่ ความรู้สึกของ บุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่ง
หนึ่งมากกว่าสิ่งอื่น ๆ ซึ่งจะกระตุ้นให้บุคคลทำกิจกรรมหรือแสวงหาความรู้ในสิ่งใด ๆ ที่เขาชอบหรือพอใจอย่าง
่
ตั้งใจและพากเพียรที่จะกระทำกิจกรรมนั้นอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งความสนใจอาจมีได้ชั่วขณะหรือคงอยู่ถาวรก็ได้ขึ้นอยูกับ
ความอยากรู้อยากเห็นและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
2.4 ทฤษฎีด้านกระบวนการ
การให้บริการวิชาการแก่สังคม มีขั้นตอนในการดำเนินงานที้องมีความคลอบคลุม เพื่อให้เกิดผลสำเร็จของ
การบริการวิชาการ ที่ตรงต่อความต้องการ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ของชุมชน ทั้งนี้การดำเนินการ ต้องทำให้
ครบถ้วนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามหลักแนวคิด และทฤษฎี ดังนี้
สุธาสินี โพธิ์จันทร์ (2558) ได้ให้ความหมายคำว่า PDCA เป็นแนวคิดหนึ่งที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่
การวางแผน แต่แนวคิดนี้เน้นให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับ