Page 21 - 0018
P. 21
13
การตัดสินใจเลือกอาชีพและการปรับตัวในอาชีพประกอบด้วยขั้นต่าง ๆ หลายขั้น ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นซ้ำแล้ว
ซ้ำเล่าตลอดชีวิตของบุคคลเมื่อบุคคลต้องเปลี่ยนงานใหม่อยู่เสมอ ทฤษฎีของทีดแมนและโอฮาราแบ่งออกเป็น
ระยะใหญ่ ๆ ได้ 2 ระยะคือ
1. ระยะเตรียมเลือกอาชีพ (Period of Anticipation or Preoccupation) ในระยะนี้แบ่ง ออกเป็น
ขั้นตอนย่อย ๆได้ 4 ขั้นคือ
1.1 ขั้นสำรวจ (Exploration Stage) ในขั้นนี้บุคคลจะทำการสำรวจข้อมูลต่าง ๆ และประเมิน
ตนเองในด้านความสนใจความสามารถความถนัดประสบการณ์ลักษณะสาขาวิชาและลักษณะอาชีพต่างๆ ตลอดจน
การประเมินความเป็นไปได้ในการประกอบอาชีพ
1.2 ขั้นการก่อตัวของความคิด (Crystallization Stage) ในขั้นนี้บุคคลจะนำเอาข้อมูลใน ขั้น
สำรวจมาพิจารณารวมกับค่านิยมและเป้าหมายในชีวิตของตนเองประเภทของอาชีพและทางเลือกอื่นๆ ความคิด
จะเริ่มชัดเจนขึ้น
1.3 ขั้นการทดลองเลือกอาชีพ (Choice Stage) ในขั้นนี้บุคคลจะทดลองตัดสินใจเลือก อาชีพ
การตัดสินใจเลือกอาชีพครั้งนี้จะเป็นการตัดสินใจชั่วคราวหรือถาวรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลที่บุคคลได้ทราบใน ขั้นการ
สำรวจ และขั้นการก่อตัวความคิด
1.4 ขั้นการพิจารณารายละเอียด (Clarification Stage) ในขั้นนี้บุคคลจะหาข้อมูล เพิ่มเติมเพื่อ
ขจัดความสงสัยและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีรายละเอียดและชัดเจนเพียงพอเพื่อการตัดสินใจเลือกอาชีพที่แน่นอน
2. ระยะการประกอบอาชีพและการปรับตัว (Period of Implementation and Adjustment) ในระยะ
นี้บุคคลพร้อมและเริ่มประกอบอาชีพที่ได้เลือกสรรมาแล้ว ระยะการประกอบอาชีพและการปรับตัวแบ่ง ออกเป็น
ขั้นตอนย่อย ๆได้ 3 ขั้นคือ
2.1 ขั้นเข้าสู่การศึกษาหรืออาชีพ (Induction Stage) ในขั้นนี้บุคคลจะเข้าศึกษาในสาขา วิชาชีพ
เพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพหรือเริ่มประกอบอาชีพที่ได้เลือกไว้แล้ว โดยทั่วไปบุคคลจะยอมรับและปรับตัวเองเข้า
กับสภาพแวดล้อมใหม่
2.2 ขั้นการปรับปรุง (Reformation Stage) ในขั้นนี้บุคคลจะได้รับการยอมรับใน สภาพแวดล้อม
ั
ทางการศึกษาหรืออาชีพที่ได้เลือกแล้ว บุคคลจะพยายามประนีประนอมกันระหว่างเป้าหมายของตนเองกบของคน
กลุ่มใหญ่ และในที่สุดเขาก็จะคล้อยตามกลุ่ม
2.3 ขั้นความมั่นคง (Integration Stage) ในขั้นนี้บุคคลมีความมั่นคง และมีความสำเร็จใน
การศึกษาหรือการประกอบอาชีพและเห็นว่าอาชีพนั้นเหมาะสมกับตนเอง เมื่อบุคคลเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจกับ
อาชีพที่เขาเลือกเขาอาจจะเริ่มกระบวนการเลือกอาชีพใหม่อีกโดยใช้ข้อมูลจากกระบวนการเลือกครั้งแรกเป็น
ประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกอาชีพครั้งต่อไป
สรุปได้ว่า การพัฒนาการด้านอาชีพที่เน้นทั้งด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพและการปรับตัวในอาชีพ
เป็นกระบวนการที่ต้องสร้างเอกลักษณ์ด้านอาชีพ เมื่อบุคคลต้องเผชิญกับงานเขาได้อธิบายว่าประสบการณ์ใหม่ ๆ
ื่
เป็นการสร้างเอกลักษณ์ในการทำงานของตนเองเพอให้ตนเองสามารถอยู่ในสังคมได้การสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง
การวัดทักษะด้านอาชีพและการดำรงชีพ ทักษะด้านอาชีพเป็นการวัดความสนใจด้านอาชีพก่อน
ซึ่งความสนใจ (Interest) เป็นตัวแปรทางจิตวิทยาตัวหนึ่งที่มีความสำคัญต่อบุคคล ซึ่งมีผลต่อการปรับตัวทาง