Page 19 - 0018
P. 19

11



                              4) การนำผลการประเมินมาปรับปรุง (Act) เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและประเมินแล้ว ต้อง
               นำผลการประเมินมาปรับปรุงโดยส่งข้อมูลย้อนกลับไปสู่ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานในหน่วยงาน ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้
                                                                                                            ิ่
               ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงผลการดำเนินงานของตนเองว่าเป็นอย่างไร และควรปรับปรุง ต่อไปอย่างไรจึงจะเพม
               ประสิทธิภาพสูงสุด





                                  • พัฒนำและปรับปรุงระบบ                • วำงแผน จัดท ำกิจกรรมบริกำร
                                   และกลไกกำรด ำเนินงำน                 วิชำกำร



                                                  Act         Plan






                                                Check          Do


                                • ติดตำมและตรวจสอบ                        • ด ำเนินกำรตำมแผนที่ได ้
                                 ขณะด ำเนินกำร                            ก ำหนดไว ้



                 ภาพที่ 2-2 แสดงกระบวนการดำเนินงาน โดยใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) : PDCA (Plan-Do-Check-Act)
                                         ที่มา : งานวิชาการและวิจัย คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, 2563


                              มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (2555) ได้มีการกำหนดแนวทาง ขั้นตอน และ

               หลักเกณฑ์การให้บริการวิชาการที่สัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เอกลักษณ์ และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่วาง
               ไว้ ดังนี้


                              1) มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ
               เพื่อประกอบการกำหนดทิศทาง และเพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ทิศทางและการจัดทำแผนการ

               บริการทางวิชาการตามจุดเน้นและความเชี่ยวชาญของสถาบัน
                                                               ื่
                              2)  มีความร่วมมือด้านบริการวิชาการเพอการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หรือ
               ภาคเอกชน หรือภาครัฐ หรือหน่วยงานวิชาชีพ สถาบันมีการเชิญหรือเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนร่วมจากชุมชน ภาครัฐ
               ภาคเอกชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพที่จะให้บริการมาร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) ในลักษณะ
               ของการสร้างเครือข่าย (Networking) ระหว่างบุคคลหรือหน่วยงานในรูปแบบต่างๆ เช่น ความร่วมมือกับสถาน

               ประกอบการในการนำผลการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้น หรือไปใช้พัฒนาบุคลากรของ
               สถานประกอบการหรือส่วนการผลิต มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คำปรึกษาแนะนำและจัดให้มีช่องทางในการสื่อสาร
               ทำความเข้าใจร่วมกันในภาคอุตสาหกรรมหรือริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมใหม่ๆ ในชุมชน
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24