Page 20 - 0018
P. 20
12
3) มีการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคมว่า สอดคล้อง
้
ึ
กับความต้องการของผู้รับบริการทั้งทางตรงและทางออม มีการประเมินผลที่เกิดกับนักศกษา อาจารย์และบุคลากร
ผู้ให้บริการ ทั้งในด้านการนำความรู้ความเชี่ยวชาญ ไปใช้ประโยชน์ การสื่อสาร การชี้แจงแนะนำให้ผู้รับบริการ
และประชาชน
4) มีการนำผลการประเมิน ไปพัฒนาระบบและกลไก หรือกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการมี
การนำผลการประเมิน การให้บริการทางวิชาการไปพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของการให้บริการ โดยระบบและกลไก
การให้บริการ ประกอบด้วยรูปแบบการให้บริการ ขอบเขตการให้บริการค่าใช้จ่ายระยะเวลาในการให้บริการ
สัญญาการบริการ ซึ่งรวมทั้งการควบคุมและการกำกับคุณภาพของการให้บริการ โดยจัดให้มีระบบให้ข้อมูลที่
ชัดเจน มีความเป็นธรรมโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
5) มีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายใน
สถาบัน และเผยแพร่สู่สาธารณชน สถาบันมีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการ ส่งเสริมให้เกิด
กระบวนการในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่บุคลากรภายในสถาบัน ซึ่งรวมทั้งผู้เรียนด้วย จัดให้มีการแลกเปลี่ยน
ความคิดและเผยแพร่ประสบการณ์ในการให้บริการผ่านทางสื่อการเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลการบริการ
วิชาการเผยแพร่สู่สาธารณะชนในการให้บริการทางวิชาการในลักษณะห่วงโซ คุณภาพที่สนองความต้องการและ
เป็นที่พึ่งของชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานวิชาชีพสังคมได้อย่างมีคุณภาพตามศักยภาพและความพร้อม
ตามจุดเน้นของสถาบัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า กระบวนการของงานบริการวิชาการแก่สังคม เป็นการวางแนวทาง ขั้นตอน และ
หลักเกณฑ์การให้บริการวิชาการที่เป็นระบบ จัดโครงสร้างสถาบัน เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบ อีกทั้งยัง
ต้องสัมพันธ์กับพันธกิจ เอกลักษณ์ ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ในการดำเนินโครงการต้องมุ่งเสริมสร้าง การ
พัฒนา เผยแพร่ความรู้ ทักษะเชิงวิชาการหรือวิชาชีพแก่ชุมชน ท้องถิ่น หรือสังคม อีกทั้งการให้บริการทางวิชาการ
ต้องมีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย และสามารถบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่
สังคมกับการเรียน การสอนและการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม
2.3 แนวคิด/ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะอาชีพ
เพ็ญนภา กุลนภาดล และคณะ (2559) ได้สรุปทฤษฎีพัฒนาการด้านอาชีพของทีดแมนและโอฮารา
(Tiedeman and O, Hara ,s Theory of Career Development) David V. Tiedeman and Robert P. O
,Hara ได้สร้างทฤษฎีการพัฒนาอาชีพ ขึ้นโดยอาศัยทฤษฎีการพัฒนาบุคลิกภาพของอิริคสัน (Erikson ,s Theory
of Personality Development) เป็นพื้นฐาน นอกจากนี้ทีดแมนและโอฮารายังได้แนวความคิดจากกินซ์เบอร์ก
และซูเปอร์มาสร้างทฤษฎีจึงทำให้ ทฤษฎีของเขาเป็นทฤษฎีพัฒนาการด้านอาชีพที่เน้นทั้งด้านการตัดสินใจเลือก
อาชีพและการปรับตัวในอาชีพ ของบุคคลทีดแมนและโอฮารา เห็นว่าพัฒนาการด้านอาชีพเป็นกระบวนการที่ต้อง
สร้างเอกลักษณ์ด้านอาชีพ เมื่อบุคคลต้องเผชิญกับงานเขาได้อธิบายว่าประสบการณ์ใหม่ ๆ ทำให้บุคคลสร้าง
เอกลักษณ์ด้านอาชีพขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเอกลักษณ์ในการทำงานของตนเอง เพื่อให้ตนเองสามารถอยู่ในสังคมได้
่
จากการสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นปรากฏการณ์ทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยาพัฒนาการด้านอาชีพทีเน้น