Page 18 - 0018
P. 18

10


                              สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2561) ได้กำหนดกระบวนการในการบริการ

               วิชาการ หลักสูตรเร่งด่วน/โครงการพิเศษ และหลักสูตรให้เปล่า ไว้ดังนี้

                              1. ถ้าเป็นหลักสูตรเร่งด่วน/โครงการพิเศษ ให้ทำในลักษณะเช่นเดียวกับหลักสูตร In-house
                              2. ถ้ามีกลุ่มเป้าหมายให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ทำประชาสัมพันธ์ดำเนินการรับ

               สมัคร เหมือน Public
                              3. ประสานงานการเตรียมการกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
                              4. ศึกษา Term of Reference เกี่ยวกับเงื่อนไขการรายงานผล และการติดตามผล (ถ้ามี) ของ
               หลักสูตร เร่งด่วน/โครงการพิเศษ
                              5. สรุปประเมินผลการฝึกอบรม เสนอผู้บริหารเพื่อโปรดทราบ

                              6. สรุปประเมินแจ้งหน่วยงานเจ้าของโครงการ/ผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณในหลักสูตร
               เร่งด่วน/ โครงการพิเศษ
                              7. สรุปการทำงานจัดเก็บใน แฟ้ม In-house และทำตารางสรุปโครงการและเรียบเรียงลำดับ

               เอกสาร ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงเสร็จสิ้นกระบวนการทำงาน


                              มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (2563) อธิบายว่า กลไกการบริการทางวิชาการ

                                                      ุ
                  ่
               แกสังคมเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอดมศึกษา สถาบันจึงกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการบริการทาง
               วิชาการอย่างเป็นระบบ และมีการจัดโครงสร้างสถาบัน เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบดังกล่าว
               การให้บริการทางวิชาการต้องมีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย และสามารถบูรณาการงาน
               บริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน และการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม การบริการทางวิชาการแก่สังคม

               ควรเป็นโครงการที่มุ่งเสริมสร้าง การพัฒนา เผยแพร่ความรู้ ทักษะเชิงวิชาการหรือวิชาชีพแก่ชุมชน ท้องถิ่น หรือ
               สังคม และต้องดำเนินการให้ครบถ้วนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนมีการวางแผน ตรวจสอบ ติดตาม ประเมิน เพอนำไปสู่
                                                                                                      ื่
               การปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) : PDCA (Plan-Do-

               Check-Act) มีขั้นตอนดังนี้

                              1) การวางแผน (Plan) วางแผนการให้บริการวิชาการ กำหนดโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
               วัตถุประสงค์ และตัวชี้วัด ที่สามารถวัดผลความสำเร็จของโครงการได้ โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
               และผลการสำรวจความต้องการของชุมชนเป็นหลัก

                              2) การดำเนินงานตามแผน (Do) ปฏิบัติการตามแผนการให้บริการวิชาการตามโครงการและ
               กิจกรรมที่ได้กำหนดไว้

                              3) การตรวจสอบและประเมิน (Check) เป็นการทบทวนการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ โดย
               ผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการจะต้องวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานของตนเองในแต่ละช่วงการดำเนินงาน และ
               เปรียบเทียบผลการดำเนินงานรายตัวชี้วัดและเกณฑ์ตัดสิน เพื่อตัดสินว่า การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

               หรือไม่ เพราะเหตุใด
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23