Page 17 - 0018
P. 17
9
6) การใหบริการข้อมูลการแปล
ื่
7) การใหบริการวิชาการอน ๆ
ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยพายัพ (2558) ได้กำหนดลักษณะโครงการ/กิจกรรม
การบริการวิชาการแกสังคม ดังนี้
่
1) เป็นโครงการที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย ในเรื่องที่แต่ละหน่วยงานมี
ศักยภาพ ความถนัด และเชี่ยวชาญของบุคลากรและทรัพยากร หรือได้รับการร้องขอจากชุมชน
2) การจัดทำโครงการ/กิจกรรม ต้องศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายกอน เพื่อให้การ
่
ดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
3) กลุ่มเป้าหมายการให้บริการวิชาการ คือ ผู้รับบริการของมหาวิทยาลัย ได้แก หน่วยงานภาครัฐ
่
ภาคเอกชน โรงเรียน สถาบันการศึกษาอื่นๆ ศิษย์เก่า ตลาดแรงงาน ชุมชน และประชาชนในพื้นที่รับบริการของ
มหาวิทยาลัย หรือพื้นที่อื่นๆ ที่มีการร้องขอ เป็นต้น
4) สถานที่หรือการให้บริการตามโครงการ/กิจกรรม อาจจัดขึ้นในมหาวิทยาลัย หรือในพื้นที่
ภายนอกมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2563) ได้กำหนด ลักษณะของโครงการ/กิจกรรมการบริการทางวิชาการ
แก่สังคมแบบให้เปล่า
1) โครงการ/กิจกรรมที่ขอใช้งบประมาณจากเงินงบประมาณแผ่นดิน สำหรับให้บริการวิชาการ
แก่สังคมในด้านต่าง ๆ ตามพันธกิจของคณะ/หน่วยงาน ที่ไปให้บริการวิชาการ
2) กลุ่มเป้าหมายหลักซึ่งเป็นผู้รับบริการทางวิชาการ จะต้องเป็นบุคคลภายนอกองค์กร หรือ
หน่วยงาน ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เช่น ประเทศจีน
พม่า สปป.ลาว เวียดนาม
3) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีนโยบายที่จะเน้นการบริการทางวิชาการแบบบูรณาการ เพอให้ได้ผล
ื่
การพัฒนาที่ชัดเจน และอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มากนักในเบื้องต้นนี้ ศูนย์บริการวิชาการ
จึงเสนอให้พิจารณาจัดทำโครงการบริการทางวิชาการ โดยเน้นพื้นที่ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 12
ชุมชน
4) สถานที่จัดโครงการอาจจัดขึ้นในมหาวิทยาลัย หรือพื้นที่ซึ่งเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย
ขอนแก่น
5) ในการจัดทำโครงการบริการทางวิชาการ ควรมีการศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายใน
พื้นที่ก่อน เพื่อให้โครงการต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการพัฒนาของชุมชนและสังคมได้อย่างแท้จริง
สรุปได้ว่า การให้บริการวิชาการแก่ชุมชนของมหาวิทยาลัยในแต่ละมหาวิทยาลัย ได้แบ่งกลุ่มงาน
การให้บริการวิชาการภายใต้ระเบียบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้แบ่ง
ออกเป็น 7 กลุ่ม ซึ่งการดำเนินงานตามกระบวนการของงานบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ ในการ
แก้ไขปัญหาความยากจน ตรงกับกลุ่มที่ 7 การใหบริการวิชาการอื่น ๆ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยกำหนดไว้
2.2.2 ระบบกลไก และกระบวนการบริการวิชาการแก่สังคม