Page 94 - 001
P. 94

83


                          อาณาจักรของพระเจ้าจันทรคุปต์มีความกว้างใหญ่ไพศาลมากประชาชนส่วนใหญ่

                   ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งสามารถนำรายได้และภาษีสู่รัฐบาล รัฐบาลจะมีหน้าที่ช่วยดูแล
                                                                                     ิ่
                   ในเรื่องของการชลประทาน ตลอดจนดูแลช่วยเหลือทำนุบำรุงผลิตผลให้เพมมากขึ้น นอกจาก
                   อาชีพทางการเกษตรแล้วยังมีการทำป่าไม้ เหมืองแร่และค้าขาย ซึ่งในสมัยนี้มีความเจริญรุ่งเรือง

                   มากเพราะมีถนนหนทางใหญ่ ๆ เชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของประเทศ อีกทั้งตามเส้นทางคมนาคม
                            ั
                   ยังมีบ้านพกคนเดินทางอีกด้วย นอกจากการค้าขายติดต่อกันภายในประเทศแล้วหลักฐานทาง
                   โบราณคดีในประเทศอินเดียก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประชาชนชาวอินเดียมีการติดต่อ
                   ค้าขายกับต่างชาติทั้งทางซีกโลกตะวันตกและตะวันออก บทบาททางการค้ากับต่างชาติเริ่ม
                   เด่นชัดในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ พระองค์เป็นผู้เปิดประตูการค้ากับโลกตะวันตกโดยสร้าง

                   เส้นทางการค้าที่สำคัญในขณะเดียวกันก็เริ่มเปิดประตูการค้ากับโลกตะวันออก โดยสร้างเมือง
                   ท่าสำคัญบริเวณปากแม่น้ำคงคาคือเมืองตามรลิปติ (Tamralipti)  เพอติดต่อค้าขายทางทะเล
                                                                                 ื่
                   กับกลุ่มประเทศทางตะวันออก
                          ในทางสังคมสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์มีลักษณ์ทางสังคมที่เด่นชัดคือความเข้มงวดของ
                                              ิ
                   ระบบวรรณะ พราหมณ์เพมพธีทางศาสนาให้สลับซับซ้อนมากขึ้น พราหมณ์จะทำหน้าที่เป็นผู้
                                           ิ่
                             ิ
                   ประกอบพธีบูชา ในฐานะผู้เป็นสื่อระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์ พวกพราหมณ์จึงถือว่าตนมี
                   สิทธิ์พิเศษมากมาย เป็นชนชั้นสูงและมีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในสังคม

                          พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงครองราชย์บังลังก์อยู่เป็นเวลา 24 ปี พวกเชนบันทึกไว้ว่า ในบั้น
                   ปลายชีวิตพระองค์ได้สละราชสมบัติและออกผนวชเป็นนักบวชในศาสนาเชน และอดอาหารจน
                   สิ้นพระชนม์ตามแบบฉบับของนักบุญเชนที่วัดศราวัณ ในแคว้นไมซอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม

                   ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าข้อความดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ ผู้ที่ครองราชย์สมบัติต่อมาคือ พระเจ้าพินทุ
                   สาร ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจันทรคุปต์ พระองค์ได้ครองราชย์ในปี 298 ก่อน

                   คริสตกาล
                                               ิ
                          ในรัชสมัยของพระเจ้าพนทุสาร อิทธิพลของแคว้นมคธขยายลงมาทางอินเดียใต้ ตาม
                   ข้อความในหนังสือมหาวงศ์กล่าวว่า พระเจ้าพินทุสารทรงมีพระโอรสถึง 101 องค์ เจ้าชายสุสีมะ

                   ทรงเป็นพระโอรสองค์โต เจ้าชายอโศกทรงเป็นโอรสองค์ที่ 2 และเจ้าชายติษยะ (ติสสะ) ทรง
                   เป็นโอรสองค์เล็กสุด พระเจ้าพนทุสารสวรรคตในปี 273 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอโศกทรง
                                               ิ
                   สืบราชสมบัติต่อมา
                          พระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. 269-311)  มีหลักฐานในช่วงเริ่มแรกของชีวิตน้อยมาก เรา
                             ี
                   ทราบแต่เพยงว่า เมื่อยังทรงพระเยาว์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชประจำแคว้นตะวันตกเฉียง
                   เหนือ หลักฐานหนึ่งที่ทำให้เรารู้เรื่องราวในสมัยพระเจ้าอโศกได้ดีคือเสาพระเจ้าอโศก ซึ่งเป็น
                   เสาหินที่พระเจ้าอโศกทรงสั่งให้ทำขึ้นและนำไปตั้งตามจุดต่าง ๆ ภายในจักรวรรดิที่กว้างใหญ่

                   ของพระองค์ เสาหินนี้ถือเป็นหลักฐานทางลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ภายในบรรจุ
                   คำสั่งสอนของพระองค์ต่อประชาชนให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม การจารึกบนแท่งหินและเสาหิน
                   ของพระเจ้าอโศกสันนิษฐานว่าเลียนแบบมาจากการจารึกของกษัตริย์ราชวงศ์อาคีมินิดแห่ง

                   เปอร์เซีย แต่จุดมุ่งหมายในการจารึกมีความแตกต่างกันกล่าวคือ จารึกของเปอร์เซียเป็นการ
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99