Page 95 - 001
P. 95

84


                   สรรเสริญเยินยออานุภาพของจักรพรรดิต่าง ๆ เกี่ยวกับชัยชนะในสงคราม จำนวนประชากรเผ่า

                   ต่าง ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจของพระองค์ไม่ได้จารึกคำสั่งสอนดังเช่นจารึกเสาพระเจ้าอโศก
                          จากจารึกดังกล่าวเราทราบว่า ในตอนต้นรัชกาลพระเจ้าอโศกทรงเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่
                   ยกทัพไปปราบปรามเมืองใหญ่น้อยต่าง ๆ เพื่อขยายอาณาจักรของพระองค์ให้กว้างขวางออกไป

                                                                                   ี
                   อีกเพราะแม้อาณาจักรโมริยะจะมีอาณาเขตกว้างใหญ่ แต่ยังเหลือเพยงอาณาเขตด้านทิศ
                   ตะวันออกเฉียงใต้และส่วนหนึ่งของดินแดนทางทิศใต้เท่านั้นที่ยังไม่ได้ขึ้นต่ออำนาจของพระองค์

                   ดังนั้น พระองค์จึงมีความใฝ่ฝันจะรวบรวมอินเดียทั้งหมดให้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล
                   สูงสุดเพียงรัฐบาลเดียว พระองค์ดำเนินนโยบายการขยายอินเดียโดยการทำสงครามอยู่เป็นเวลา
                   ถึง 8 ปี ตั้งแต่เริ่มครองราชย์ จนกระทั่งปีที่ 8 ที่พระองค์ทรงยกทัพไปปราบ เมืองกลิงคะ

                   (Kalinga) ปัจจุบันคือแคว้นโอริสสา  การทำสงครามในครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ที่
                   ทำให้พระองค์ต้องเปลี่ยนนโยบายในการปกครอง กล่าวคือในการรบครั้งนี้   ชาวกลิงคะถูกฆ่า

                   ตายเป็นจำนวนมากและที่ถูกจับเป็นเชลยอีกมากมาย ผลที่เกิดขึ้นทำให้พระองค์สังเวชพระทัย
                   และทรงเศร้าสลดเป็นอย่างยิ่งที่เห็นคนถูกฆ่าตายอย่างมากมายเช่นกัน และทรงสำนึกว่าการได้
                   ชัยชนะแต่ละครั้งนั้นต้องแลกกับชีวิตมนุษย์และความทุกข์ยากหลายเท่า พระองค์จึงหันหน้าเข้า

                            ุ
                   สู่ร่มพระพทธศาสนา ปรารถนาจะให้มีแต่สันติสุขในโลก และตัดสินพระทัยเลิกทำสงครามแต่
                   ทรงปราบปรามเมืองต่าง ๆ ด้วยธรรม พระองค์ทรงยึดหลักสันติและธรรมของพระพทธเจ้าใน
                                                                                              ุ
                                                                                     ุ
                   การดำเนินนโยบายปกครองพระเจ้าอโศกใช้วิธีเผยแพร่คำสอนของพระพทธเจ้าโดยโปรดให้
                   จารึกคำสอนของพระพทธเจ้าลงบนเสาหินมากมาย แล้วนำไปวางไว้ทั่วอาณาจักร ตั้งแต่แถบ
                                        ุ
                   อัฟกานิสถานลงไปถึงแคว้นไมซอร์

                                                ุ
                          นอกจากการนำศาสนาพทธมาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว พระองค์ยังจัดให้มีการทำ
                   สังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่เมืองปาฏลีบุตร ผลของการสังคายนาคณะสงฆ์ได้เกิด

                   การแยกตัวออกเป็น18-20 นิกาย กลุ่มที่สำคัญมี 2 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มที่เรียกตนเองว่า เถร
                   วาท คือกลุ่มที่ยึดหลักวินัยเดิมที่พระพทธเจ้าได้วางไว้ และถือว่าวัตถุ 10 ประการ  ไม่ควร
                                                      ุ
                                                                                              14
                   เปลี่ยนแปลง และกลุ่มที่เรียกว่า อาจาริยวาท คือกลุ่มที่ถือตามอาจารย์ที่ได้แก้ไขดัดแปลงวินัย
                   ของพระพุทธเจ้าในบางข้อให้ถือปฏิบัติได้ (เช่น เรื่องวัตถุ 10 ประการ) เมื่อการสังคายนาสิ้นสุด
                                                                                  15
                   ลง พระองค์จึงได้ส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆ



                          14  วัตถุ 10 ประการหรือพระวินัยบัญญัติ 10 ประการเป็นข้อห้ามเล็กน้อยที่ภิกษุบางกลุ่มเห็นว่าสามารถือปฏิบัติได้ ได้แก่ 1)
                   ห้ามภิกษุสะสมเกลือไว้ เพื่อไปใส่เวลาฉันอาหารในวันต่อไป 2) ห้ามภิกษุฉันอาหารตั้งแต่เที่ยงไปแล้ว 3) ห้ามภิกษุฉันอาหารเป็นครั้งที่ 2
                                                                                               ี
                   อีก หลังจากที่ฉันเสร็จเรียบร้อยออกไปจากวัดแล้ว 4) ห้ามภิกษุทำอุโบสถในวัดกำหนดเสมาเดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้งในวันเดยวกัน 5)
                   ห้ามภิกษุสงฆ์เพิกเฉยต่อการบอกลาสงฆ์ก่อนการทำอุโบสถ 6) ห้ามภิกษุสงฆ์ปฏิบัติผิดกฎตามที่อุปัชฌาย์อาจารย์พากันปฏิบัติกันมา
                   ก่อน 7) นมสดที่แปรสภาพ พระภิกษุฉันอาหารแล้วจะดื่มนมอันเป็นของเหลือไม่ได้ 8) ห้ามภิกษุดื่มน้ำดองที่มึนเมา 9) ห้ามภิกษุใช้ผ้าปู
                   นั่งที่ยังเย็บตะเข็บไม่เรียบร้อย 10) ห้ามภิกษุรับสตางค์หรือธนบัตรใดๆทั้งสิ้นดูเพิ่มเติม ผาสุข อินทราวุธ. (2543). พุทธปฏิมาฝ่าย
                   มหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, หน้า 1.
                          15  เป็นที่น่าสังเกตว่า ในจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในลักษณะปฐมภูมิกลับไม่ได้กล่าวถึงการส่งสมณ
                   ทูตมายังดินแดนสุวรรณภูมิ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เลย แต่ข้อความที่กล่าวถึงการส่งสมณทูตมายังดินแดนสุวรรณภูมิกลับปรากฏอยู่
                                                                                    ์
                   ในคมภีร์มหาวงศและทีปวงศ์ ซงเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาของลังกาที่แต่งขึ้นในภายหลัง (มหาวงศแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่
                                      ึ่
                      ั
                              ์
                                                                                                     ิ
                               ์
                   11-12 ส่วนทีปวงศแต่งขึ้นในระหว่าง พ.ศ.890-950 หรือพุทธศตวรรษที่ 9-10) อันถือว่าเป็นข้อมูลในลักษณะของทุติยภูมิ ดูเพิ่มเตม
                   ผาสุข อินทราวุธ. (2548). สุวรรณภูมิจากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้า 16-25.
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100