Page 93 - 001
P. 93
82
ประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ
ุ
ยุคเหล็กตอนปลายหรือสมัยราชวงศ์โมริยะ ถือกำเนิดขึ้นในช่วงราวพทธศตวรรษที่ 3-5
(350-50ปีก่อนคริสตกาล) ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์โมริยะคือ พระเจ้าจันทรคุปต์ พระองค์เป็นผู้
ล้มราชวงศ์นันทะ และเข้ายึดครองเมืองปาฏลีบุตร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ หลังจากนั้น
พระองค์ทรงพยายามขยายพรมแดนแห่งจักรวรรดิของพระองค์ให้กว้างใหญ่ออกไปทุกทิศ
นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นผู้ขับไล่พวกกรีกออกไปจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย แต่ยัง
มีอิทธิพลของกรีกบางส่วน เช่น นายพลซิลิอุกุส นิกาเตอร์ ผู้ซึ่งเคยเป็นนายทัพของพระเจ้าอเล็ก
ื้
ซานเดอร์และได้ครองพนที่แถบแบคเตรียแทนหลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สวรรคต นิกา
เตอร์ขอทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าจันทรคุปต์โดยยอมคืนดินแดนที่เป็นอัฟกานิสถานใน
ปัจจุบันให้ หลังจากนั้น นายพลนิกาเตอร์ได้ส่งทูต คือ เมกาเทเนสมาประจำราชสำนักของพระ
เจ้าจันทรคุปต์
เมกาเทเนสผู้นี้เองที่ได้บันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆในอินเดียไว้โดยละเอียด แต่
เป็นที่น่าเสียดายว่าผลงานของท่านได้สูญหายไป เหลือแต่ผลงานของชาวกรีกรุ่นหลังๆที่ได้
อ้างอิงถึงผลงานเดิมของเมกาเทเนส ดังนั้น จึงสามารถรวบรวมผลงานของเขาขึ้นมาใหม่ได้ แม้
จะไม่สมบูรณ์แต่ก็นับว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับอินเดียโดย
13
ชาวต่างประเทศฉบับแรก
จากบันทึกของเมกาเทเนสนี้เองที่ทำให้เราทราบเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ใน
อินเดียอยางละเอียด จากบันทึกดังกล่าวทำให้เราทราบว่ากษัตริย์ราชวงศ์โมริยะจัดระเบียบการ
่
ปกครองประเทศไว้อย่างเข้มแข็งและรัดกุมมาก ในการบริหารงานปกครอง พระองค์มีคณะที่
ปรึกษาและข้าราชการซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ กับกษัตริย์จันทรคุปต์มีอาณาจักรที่
กว้างใหญ่ ดังนั้นการปกครองตามท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องสำคัญ กล่าวคือมีการแบ่งเขตออกเป็น
จังหวัดและอำเภอ แต่ละจังหวัดมีข้าหลวงใหญ่ปกครองในสมัยนี้มีการปกครองที่เข้มงวดโดย
พยายามดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง นั่นคือมีการควบคุมดูแลข้าหลวงตามจังหวัดต่าง ๆ อย่าง
ใกล้ชิด โดยส่งคณะผู้ตรวจราชการไปจากเมืองหลวง คณะผู้ตรวจราชการนี้จะทำหน้าที่เสนอ
รายงานต่อกษัตริย์โดยตรง ระบบราชการในสมัยนี้มีความก้าวหน้าพอสมควรทีเดียว เช่น มีการ
สำรวจสำมโนครัว อสังหาริมทรัพย์ ชนต่างชาติที่จะเดินทางผ่านก็จำเป็นต้องมีใบผ่านทางด้วย
คล้ายคลึงกับระบบในปัจจุบันนั้นเอง
ทางด้านการทหารเมกาเทเนสบรรยายไว้ว่าพระเจ้าจันทรคุปต์มีกองทหารเท้า 600,000
คน ทหารม้า 30,000 คน ช้าง 9,000 เชือก มีผู้บังคับบัญชาชั้นสูง 30 นาย อาวุธที่ใช้
ประจำตัวทหารเดินเท้าเป็นธนูยาวเท่าตัวคนสามารถยิงทะลุเกราะทุกชนิดได้หมด อย่างไรก็
ตามทหารรักษาพระองค์ล้วนแต่เป็นทหารหญิงเพราะกษัตริย์เกรงว่าทหารชายอาจจะไม่
จงรักภักดีเพียงพอ ฉะนั้นเวลาจันทรคุปต์เสด็จออกจากวังทหารหญิงรักษาพระองค์จะเรียงราย
อยู่รอบข้าง ทางที่จะเสด็จพระราชดำเนินผ่านจะขึงเชือกกั้นประชาชนมิให้เข้าใกล้ขณะเสด็จ
ั
ออกว่าราชการ พระองค์จะมีนางกำนัลสาว ๆ ถวายงานพดและกั้นกรดเหนือพระเศียร
13 ผาสุข อินทราวุธ. ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ, หน้า 33.