Page 92 - 001
P. 92
81
ภาพที่ 29 ภาพโมเสคแสดงการรบระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์และพระเจ้าดาริอุสที่ 3
ที่มา : https://upload.wikimedia.org/[Online] accessed 27 October 2018.
กองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์เข้าตีและยึดครองอินเดียเหนือได้ในแคว้นปัญจาบ
และตักษิลา หลักจากนั้น พระองค์ทรงตระเตรียมกองทัพเพื่อไปตีแคว้นมคธ แต่นายทัพนายกอง
ของพระองค์ไม่ยอมเดินทัพต่อ และเรียกร้องให้พระองค์ยกทัพกลับ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์จึง
เลิกทัพกลับมาซิโดเนีย โดยทิ้งกองทหารจำนวนหนึ่งไว้ที่แบคเตรีย เพื่อให้อยู่ดูแลดินแดนต่างๆที่
ยึดได้ในแถบภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยทหารกลุ่มนี้เองที่มีส่วนทำให้อารยธรรม
กรีกมีอิทธิพลต่ออารยธรรมอินเดีย อย่างไรก็ดี เมื่อพระเจ้าจันทรคุปต์ได้ก่อตั้งราชวงศ์โมริยะขึ้น
และเข้าครอบครองแคว้นมคธ พระองค์ได้ขับไล่พวกกรีกออกไปจากอินเดีย แต่ยังคงมีพวกกรีก
บางกลุ่มที่ยังคงมีอำนาจอยู่บ้าง ซึ่งได้ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าจันทรคุปต์ และยอมคืน
ดินแดนบางส่วนให้แต่โดยดี อีกทั้งยังส่งทูตเข้ามาประจำราชสำนักของราชวงศ์โมริยะ ดังจะ
กล่าวถึงในบทต่อไป
ในความเป็นจริงแล้ว การรุกรานของกองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มีผล
ี
ื้
กระทบกระเทือนอินเดียเพยงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากพนที่ที่กรีกยึดครองได้เป็นอาณานิคมมี
เพียงแบคเตรีย อัฟกานิสถานและพนที่บางส่วนของภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียเท่านั้น
ื้
ไม่ใช่พื้นที่ทั้งหมดของอินเดีย อย่างไรก็ตาม แม้จะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย แต่ก็ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในบางเรื่อง อาทิ ผลของการรุกรานของกรีก ทำให้เปิดเส้นทางการค้าระหว่าง
อินเดียกับดินแดนตะวันตกทั้งทางบกและทางเรือในเวลาต่อมา กรีกยังได้เรียนรู้ปรัชญาของ
อินเดีย โดยเฉพาะลัทธิสางขยะ (sankya) แล้วนำไปดัดแปลงเป็นของตนเองในหลักปรัชญา
12
ไพธาโกเรียน (pythagorean) หรืออินเดียได้เรียนรู้ระบบดาราศาสตร์จากชาวกรีก เป็นต้น
12 ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี, หน้า32.