Page 47 - 001
P. 47
36
ได้พบหลักฐานคือชั้นดินโคลนจากการขุดค้นภายในเมือง หรือ แม่น้ำสุตเลช (Sutlej) หรือ
แม่น้ำยมุนาที่เคยไหลลงแม่น้ำฆัคคาร์-ฮักรา (Ghaggar-Hakra) เมื่อเกิดการเคลื่อนตัวของ
เปลือกโลกทำให้มันเปลี่ยนทางเดินไหลไปรวมกับแม่น้ำสินธุ ทำให้แม่น้ำฆัคคาร์ค่อยๆแห้งเหือด
ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบนี้จึงค่อยๆอพยพออกจากพื้นที่ไปในที่สุด
นอกจากการศึกษาทางด้านธรณีแล้ว งานวิจัยทางด้านพฤกษศาสตร์ดึกดำบรรพ ์
(Palaeobotany) ในราชสถาน ยังมีส่วนอธิบายถึงสาเหตุการล่มสลายของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำ
สินธุด้วย กล่าวคือ ในช่วงราว 1,800 -1,500 ปีก่อนคริสตกาล ปริมาณฝนที่ตกลงมาลดน้อยลง
ิ่
อย่างรวดเร็ว แม้ว่าในช่วง 1,500 -1,000 ปีก่อนคริสตกาล ปริมาณฝนจะเพมขึ้นเล็กน้อย แต่
หลังจากนั้น มันได้ลดต่ำลงเรื่อยๆ อาจกล่าวได้ว่าในราว 400 ปีก่อนคริสตกาล แถบราชสถาน
13
ื้
เป็นพนที่ที่แห้งแล้งที่สุดแห่งหนึ่งของยุค ซึ่งมีผลในการอยู่อาศัยและการทำกสิกรรมของผู้คน
ในสมัยโบราณ
อย่างไรก็ดี ดังที่กล่าวไว้เป็นเบื้องต้นแล้วว่า สาเหตุการล่มสลายของอารยธรรมแม่น้ำ
สินธุยังคงไม่ได้ข้อสรุปในปัจจุบัน มีความเป็นไปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น
จนนำไปสู่การล่มสลายของอารยธรรมนี้อาจไม่ได้มาจากปัจจัยเพียงข้อเดียว แต่การประสบภัย
ธรรมชาติหลายรูปแบบ แม้ไม่ใช่ในคราวเดียวแต่มีผลต่อการดำรงชีวิต กล่าวคือเมื่อประชาชน
อพยพออกจากพนที่ ไม่มีการทำการเกษตรกรรม ผลิตผลที่ได้จากการเพาะปลูกลดน้อยลง ไม่
ื้
สามารถนำส่วนเกินมาใช้แลกเปลี่ยนในการค้าได้ เศรษฐกิจหยุดชะงัก หรือไม่สามารถนำมา
ี
เกื้อหนุนผู้คนทุกระดับชั้นในสังคมได้เพยงพอ อำนาจของผู้ปกครองไม่สามารถรักษาความสงบ
ไว้ต่อไปได้รวมไปถึงไม่มีกำลังในการที่จะบำรุงบำเรอวัฒนธรรมของตน ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง
ื่
ต้องละทิ้งถิ่นฐานเพอความอยู่รอด เมืองต่างๆค่อยๆตกต่ำลง จนกลายเป็นเมืองร้างมีผลทำให้
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุล่มสลายไปในที่สุด
13 Hermann Kulke and Dietmar Rothermund. (2002). A History of India. New York: Taylor & Francis e-
library, pp. 27- 28.