Page 48 - 001
P. 48
37
บทที่ 4
การเข้ามาของอารยัน สมัยพระเวทและสมัยมหากาพย์
ภูมิหลังของชาวอารยัน
นักวิชาการส่วนใหญ่ที่ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เอเชียใต้เชื่อว่าชาวอารยันเป็นกลุ่ม
ชาติพันธุ์ที่เดินทางมาจากดินแดนภายนอกประเทศอินเดีย เป็นกลุ่มชนกึ่งเร่ร่อน มีลักษณะทาง
กายภาพรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว จมูกโด่ง ศีรษะค่อนข้างยาว ผมสีอ่อน ดำรงชีพด้วยการทำปศุ
ื
สัตว์และเพาะปลูกพชเล็กๆน้อยๆ มีม้าเป็นสัตว์เลี้ยงและมีความสามารถในการใช้รถเทียมม้า
เร่ร่อนไปยังท้องถิ่นต่างๆที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในเรื่องถิ่นกำเนิดของชาวอารยันนั้นมีการ
โต้เถียงกันมาก และได้มีความพยายามในการสืบค้นถิ่นเดิมของชาวอารยันโดยการใช้ศาสตร์
สาขาวิชาต่างๆ แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปอันหนึ่งอันใดได้แน่ชัด เนื่องจากนักวิชาการเหล่านี้มี
ความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ การศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางภาษาเป็นอีก
หนทางหนึ่งที่จะช่วยค้นหารากเหง้าเดิมของชาวอารยันในอดีต
ภาษาที่ใช้ในการค้นคว้าเรื่องราวของชาวอารยันได้แก่ ภาษาสันสกฤต ซึ่งจากการศึกษา
ทั้งตัวภาษาสันสกฤตเองและภาษาต่างๆอีกมากมาย นักภาษาศาสตร์ (Linguists) นักนิรุกติ
ศาสตร์ (Philologists) และนักไวยากรณ์ (Grammarians) ได้สรุปว่า ภาษายุโรป (ภาษากรีก
ภาษาละติน ภาษาเยอรมัน) ภาษาเปอร์เซีย และภาษาอัฟกานิสถาน ล้วนมีความเกี่ยวข้องกัน
กับภาษาสันสกฤตซึ่งมีความเก่าแก่มากที่สุด โดยกลุ่มภาษาดังกล่าวถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มตระกูล
ภาษาอินโด-ยูโรเปี้ยน จากผลการวิจัยพบว่าภาษาในกลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากทั้งใน
ั
เรื่องของไวยากรณ์ วากยสัมพนธ์ (โครงสร้างของลำดับคำในประโยคหรือวลี) รวมไปถึงคำศัพท์
ู
ด้วยความคล้ายคลึงดังกล่าวนี้เองนำไปสู่ข้อสมมติฐานที่ว่า กลุ่มคนที่พดภาษาเหล่านี้ในอดีต
น่าจะเคยมีถิ่นที่อยู่เดียวกัน ซึ่งนักวิชาการมีความคิดเห็นพ้องกันว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในบริเวณทุ่ง
หญ้าสเตปส์ (steppes) ทางเหนือและตะวันออกของทะเลดำกว้างไกลไปจนถึงแถบทะเลสาป
1
แคสเปียน (Caspian Sea)
จนกระทั่ง ในราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาลได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ
และสิ่งแวดล้อมขึ้นในพื้นที่นี้จนทำให้กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวต้องอพยพแยกย้ายไป
ตามส่วนต่างๆของโลก ดังนี้
2
1. กลุ่มที่เดินทางไปทางทิศตะวันตก และกระจายไปเป็นพลเมืองของประเทศต่างๆใน
ยุโรป เรียกว่าพวก “อินโด-ยูโรเปียน” (Indo-European)
2. กลุ่มที่เดินทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าไปในอัฟกานิสถาน และหลังจากนั้น
ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้กระจายไปทางทิศตะวันตกเข้าไปในเปอร์เซีย พวกนี้เรียกว่า
“เปอร์เซียน” (Persian) หรือ อิเรเนียน (Iranian)
3. กลุ่มที่เดินทางไปทางตะวันออก ผ่านช่องเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าไปในอนุ
1 Burjor Avari. India : The Ancient Past A history of the Indian sub-continent from c.7000 BC to AD 1200,
p. 62.
2 นันทนา กปิลกาญจน์. (2530). ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก. กรุงเทพฯ : โอเรียนสโตร์, หน้า 66-67.