Page 159 - 001
P. 159
148
ปัลลวะ (Pallavas) ภายหลังการสิ้นสุดของราชวงศ์ศาตวาหนะ พื้นที่บริเวณอินเดียใต้
ทางฝั่งตะวันออก เลยเขตแม่น้ำกฤษณา (Krishna) ลงไป ราชวงศ์ปัลลวะได้สืบทอดอำนาจ
ต่อมา มีการถกเถียงและตั้งข้อสมมติฐานกันมากมายในเรื่องเกี่ยวกับบรรพบุรุษของราชวงศ์
ปัลลวะ แต่โดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันว่า ปัลลวะคือกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณแม่น้ำ
กฤษณาและได้เข้ารับราชการในสมัยที่ราชวงศ์ศาตวาหนะมีอำนาจ เมื่อศาตวาหนะล่มสลายลง
7
จึงแยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระ
ุ
แม้ปัลลวะจะเริ่มแสดงบทบาทการเป็นเจ้าครองนครในราวพทธศตวรรษที่ 9 (ราวกลาง
คริสต์ศตวรรษที่ 3) แต่จุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์เริ่มขึ้นตั้งแต่พทธศตวรรษที่ 12
ุ
(คริสต์ศตวรรษที่ 6) เป็นต้นมา ภายใต้การนำของสิงหวิษณุ (Sinhavishnu : พ.ศ. 1118 –
1143) ราชวงศ์ปัลลวะสิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 1436 เมื่ออาทิตยะที่ 1 (Aditya I) แห่งโจฬะได้สังหาร
กษัตริย์องค์สุดท้ายของปัลลวะลง และผนวกพื้นที่ของปัลลวะเป็นของโจฬะในที่สุด
จากหลักฐานประเภทจารึก ทำให้ทราบได้ว่าปัลลวะมีการบริหารจัดการบ้านเมือง
เหมือนกับราชวงศ์คุปตะ กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้นำรัฐสูงสุด แต่ก็มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้
ช่วยเหลือในงานราชการ ภายในจักรวรรดิแบ่งเป็นพื้นที่ที่เรียกว่ารัษตระ (Rashtras) โกตตะมะ
(Kottamas) และหมู่บ้าน (Villages) เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการ
ทางด้านสังคม ราชวงศ์ปัลลวะเป็นผู้นับถือศาสนาฮินดู แต่กษัตริย์แห่งปัลลวะก็เป็นผู้ที่
มีพระทัยกว้างในเรื่องศาสนาดังเช่นกษัตริย์ในแคว้นอื่นๆที่เข้าใจสภาพทางสังคมของอินเดีย
ุ
ดังนั้น พระองค์จึงได้คุ้มครองศาสนาอื่นๆ คือ เชน และพทธด้วยเช่นเดียวกัน เมืองกาญจียัง
ได้รับการยอมรับว่าเป็น 1 ใน 7 เมืองแห่งศาสนาฮินดู ซึ่งนอกจากจะเป็นเมืองแห่งศาสนาแล้ว
กาญจียังเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกาญจีสนับสนุนการเรียนการสอนทางด้าน
วรรณกรรมภาษาสันสกฤต และภาษาทมิฬ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านในยุคนี้ก็ได้รับการอุปถัมภ์
จากราชสำนักด้วยเช่นเดียวกัน
นอกจากเรื่องการศึกษาแล้ว ราชวงศ์ปัลลวะยังสนับสนุนการเติบโตของงานศิลปกรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสถาปัตยกรรม ดังปรากฏศาสนสถานที่มีความโดดเด่น เช่น มามัลลปุรัม
(Mamallapuram) ซึ่งเป็นอาคารที่เรียกว่า รถะ (Ratha) สลักจากหินก้อนเดียวมีลักษณะคล้าย
รถหรือรถม้า ภายในประดิษฐานรูปเคารพ หรือเทวาลัยไกลาสนาถ (Kailasanatha) ซึ่งเป็น
เทวาลัยที่มีขนาดใหญ่และสำคัญที่สุด เป็นต้น นอกจากนี้ งานศิลปกรรมในราชวงศ์ปัลลวะยังส่ง
อิทธิพลให้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
โจฬะแห่งตันชอร์ (Cholas of Tanjore) ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในบทที่ 6 ถึงอาณาจักร
ต่างๆที่มีบทบาทในอินเดียใต้ไกล ในยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น แม้โจฬะจะเป็น 1 ในสาม
อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์อินเดียในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ในช่วงเวลาหนึ่ง โจฬะได้
สูญเสียอาณาจักรและกลายเป็นผู้ที่อยู่ใต้อำนาจของราษฏรกูฏะ จาลุกยะ และปัลลวะ
จนกระทั่งในราวพทธศตวรรษที่ 15 (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 9) ผู้นำของโจฬะได้เข้ายึดเมืองตัน
ุ
7 Durga Prasad. History of the Andhras upto 1565 A.D., p. 61-62.